Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2398
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดสัณฐานวิทยาของชันโรงต่อการบรรทุกเกสร |
Other Titles: | The Relationship ฺBetween Morphometric of Stingless Bees and Pollen Load |
Authors: | ยะอินทร์, คุณากร |
Keywords: | ชันโรง เกสร การบรรทุกเกสร การวัดสัณฐาน Stingless bee Pollen Pollen loads Morphometric |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Abstract: | ชันโรงเป็นผู้ช่วยผสมเกสรสำคัญที่มีบทบาทในการเก็บเกสรจากแหล่งพืชอาหาร การศึกษาครั้งนี้ทำการตรวจสอบความแตกต่างของขนาดลักษณะทางสัณฐานของชันโรง 5 สกุล (13 รัง) ได้แก่ Homotrigona (3), Lepidotrigona (2), Tetragonilla (3), Tetragonula (4) และ Tetrigona (1) จากการวัดสัณฐานของชันโรง 7 ลักษณะ ได้แก่ ความยาวลำตัว ความยาวอก ความกว้างอก ความยาวปีกหน้า ความกว้างปีกหน้า ความยาวปีกหลัง และความกว้างปีกหลัง โดยใช้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ รวมทั้งคำนวณค่าเฉลี่ยสัดส่วนน้ำหนักเกสรและจำนวนเกสร ต่อขนาดสัณฐานของชันโรง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยการวัดสัณฐาน 7 ลักษณะในระดับสกุลมีค่า R2 เข้าใกล้ 1 ของทุกลักษณะ บ่งชี้ความถูกต้องของค่าเฉลี่ยลักษณะในแต่ละสกุล ซึ่งแสดงค่าเฉลี่ยจากสูงไปต่ำ ดังนี้ Homotrigona, Tetrigona, Tetragonilla, Lepidotrigona, Tetragonula ตามลำดับ แต่ชันโรงต่างรังในสกุลเดียวกันมีค่า R2 เข้าใกล้ 0.1 ของทุกลักษณะ แสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยดังกล่าวไม่มีความเหมาะสมในการแสดงความแตกต่างระหว่างรังชันโรงได้ นอกจากนี้ค่าเฉลี่ยสัดส่วนน้ำหนักเกสรต่อขนาดสัณฐานแสดงค่า R2 เข้าใกล้ 0.5 ส่วนค่าสัดส่วนจำนวนเกสรต่อขนาดสัณฐานแสดงค่า R2 เข้าใกล้ 0.2 โดยค่าสัดส่วนทั้งสองมีค่าเฉลี่ยสูงในสกุล Homotrigona, Tetrigona, Tetragonilla ส่วน Tetragonula ที่มีขนาดสัณฐานเล็กว่า Lepidotrigona แต่แสดงค่าในทางกลับกันกับขนาดสัณฐาน ส่วนค่าสัดส่วนจำนวนเกสรต่อขนาดสัณฐาน แสดงค่าเฉลี่ยสัดส่วนสูงสุดใน Homotrigona, Tetragonilla, Lepidotrigona, Tetrigona และ Tetragonula ตามลำดับ แม้ว่าชันโรงสกุลที่มีขนาดใหญ่ Homotrigona และ Tetrigona อาจแสดงค่าสัดส่วนจำนวนเกสรน้อยกว่า Tetragonilla และ Lepidotrigona ได้เช่นกัน จึงสรุปได้ว่า อิทธิพลของชนิดพืชและขนาดของเกสรพืช อาจส่งผลต่อการเก็บและการบรรทุกเกสรของชันโรง ซึ่งชันโรงต่างสกุลกันมีขนาดสัณฐานวิทยาที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนกว่าชันโรงต่างชนิดในสกุลเดียวกัน อย่างไรก็ตามความแตกต่างของขนาดลำตัวและสัณฐานวิทยาของชันโรงจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการบรรทุกเกสรเข้าสู่รัง |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2398 |
Appears in Collections: | คณะวิทยาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdf | contact | 49.47 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.