Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2382
Title: รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: Academic Administration Model to Enhance Professional Competencies of Student in Secondary School under the Office of The Basic Educatuon Commission
Authors: สมสะอาด, พรรณวิภา
Keywords: รูปแบบการบริหาร
การบริหารงานวิชาการ
สมรรถนะทางวิชาชีพ
Academic Administration
Administration model
Enhance Professional Competencies
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=1819
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหาร งานวิชาการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยการสังเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้แบบสอบถาม และศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพของนักเรียนในโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี จำนวน 5 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่าง และตรวจสอบรูปแบบโดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และ 3) การประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 58 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาองค์ประกอบ และแนวทางการบริหารงานวิชาการ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา ได้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพของนักเรียน ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการและวัตถุประสงค์ 2) ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ 3) กระบวนการบริหารงานวิชาการ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพของนักเรียน และ 4) ผลผลิตและปัจจัยแห่งความสำเร็จผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2382
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panwipa Somsaard.pdfPanwipa Somsaard8.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.