กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2381
ชื่อเรื่อง: อุปกรณ์ป้องกันการวิบัติในเสาของโครงข้อแข็งคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีผนังก่ออิฐเนื่องจากแรงกระทำด้านข้าง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Failure Prevention Devices for Columns of RC Frames with Infilled Masonry Subjected to Lateral Loading
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: คำวงษ์ษา, คณิน
กันทิยะ, ธนพล
อุตสา, ศุภกฤต
วงค์หลอม, สุรเชษฐ์
คำสำคัญ: เสา
ผนังก่ออิฐ
อุปกรณ์ช่วยลดแรง
แรงอัด
Column
Brick masonry
Damper
Compression
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: การเกิดแผ่นดินไหวถือได้ว่ามีผลกระทบโดยตรงต่อโครงสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ก่อให้เกิดการวิบัติแก่โครงสร้างหลักของอาคาร โดยเฉพาะบริเวณหัวเสาและโคนเสา เนื่องจากแรงจากผนังกระทำต่อเสา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบอุปกรณ์ช่วยลดแรงปฏิกิริยาระหว่างโครงข้อแข็งและผนังก่ออิฐเมื่อรับแรงกระทำทางด้านข้าง เพื่อป้องกันหรือลดการวิบัติที่จะเกิดขึ้นแก่เสา โดยใช้หลักการของแรงบิดเสียดทานและการให้แรงอัดเยื้องศูนย์ อุปกรณ์ช่วยลดแรงมีทั้งหมด 12 ตัวอย่าง คือ อุปกรณ์ตัวอย่างที่ใช้แรงบิดในการขันสลักเท่ากับ 40 50 และ 60 N-m โดยมีระยะเยื้องศูนย์เท่ากับ 25 20 15 และ 10 mm ตามลำดับ ผลจากการทดสอบพบว่าอุปกรณ์ตัวอย่างที่ใช้แรงบิดในการขันสลักมากและระยะเยื้องศูนย์น้อยจะทำให้ต้านทานแรงอัดได้มาก ตัวอย่างที่ใช้แรงบิดในการขันสลักน้อยและระยะเยื้องศูนย์มากจะรับแรงอัดได้น้อยลง โดยได้ค่าแรงอัดในช่วง 3-10 kN เมื่อนำมาคำนวณเป็นค่าสติฟเนสของอุปกรณ์จะอยู่ในช่วง 2-6 kN/mm ซึ่งเมื่อนำไปทำการวิเคราะห์โครงข้อแข็งที่มีผนังก่ออิฐ พบว่า อุปกรณ์ลดแรงช่วยให้ความเค้นในผนังลดลงและแรงเฉือนในเสาลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2381
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:คณะวิศวกรรมศาสตร์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdfติดต่อ49.47 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น