กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2350
ชื่อเรื่อง: | ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาตามความคิดเห็นของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Transformational Leadership of Administrators in Higher Education Institution According to The Staff Member's Opinions at Rajamangala University of Technology Lanna Chiang Rai |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปัญญาวงค์, ณภัทร |
คำสำคัญ: | ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ภาวะผู้นำผู้บริหาร บุคลากรสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดเชียงราย Administrator in higher education institutions’ s transformational leadership Administrator Leadership Personnel of higher education institutions Chiang Rai province |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1633&doc_type=0&TitleIndex=1 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย จำแนกตามระดับการศึกษา ประเภทบุคลากร และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane.1973) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 127 คน และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จำแนกตามหน่วยงาน จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเมื่อพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธีของ Scheffe’ ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ รองลงมา คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากร ที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า บุคลากรที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำแนกตามประเภทบุคลากร พบว่า บุคลากรประเภทสายสอนและสายสนับสนุน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า บุคลากรที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2350 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Naphat Panyawong.pdf | Naphat Panyawong | 1.72 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น