กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2348
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Phattalung Tourism Development and Promotion Guidelines
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เพชรสง, ตนุยา
คำสำคัญ: องค์ประกอบการท่องเที่ยว
แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
การพัฒนาการท่องเที่ยว
การส่งเสริมการท่องเที่ยว
จังหวัดพัทลุง
Elements of tourism
Tourism development and promotion guidelines
Tourism development
Tourism promotion
Phatthalung province
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1694&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยวภายในจังหวัดพัทลุง 2) เพื่อตรวจสอบสถานการณ์การท่องเที่ยว และปัญหาที่เกิดต่อการท่องเที่ยวภายในจังหวัดพัทลุง 3) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวภายในจังหวัดพัทลุง 4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพมีวิธีการ ได้แก่ การศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ข้อมูลกึ่งเชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน และนักวิชาการในท้องถิ่น การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยเก็บจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดพัทลุง จำนวน 400 คน จากนั้น นำข้อมูลที่ได้ ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมาวิเคราะห์ SWOT Analysis และ TOWS Matrix เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก เพื่อให้ได้เป็นแนวทางในการพัฒนา และส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง ซึ่งประกอบไปด้วย 15 แนวทาง ได้แก่ 1) กลยุทธ์สร้างรูปแบบการท่องเที่ยว เช่น วัฒนธรรมอาหารเมืองพัทลุง 2) กลยุทธ์สร้างเครือข่ายด้วยการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ใกล้เคียง 3) พัฒนาการท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย เนื่องจากจังหวัดพัทลุงมีความหลากหลายทางทรัพยากรการท่องเที่ยว 4) กลยุทธ์กระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องเน้นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวเข้าถึงข้อมูล 5) กลยุทธ์การทำงานร่วมกันอย่างมีการบูรณาการ เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 6) วางแผนยุทธศาสตร์ด้านการตลาด Digital และบุกตลาดนักท่องเที่ยวไฮเอนด์ เช่น ตลาดจีน อินเดีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย 7) สร้างแผนยุทธศาสตร์กลยุทธ์โครงการต่าง ๆ ด้านการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองนโยบายภาครัฐไทยแลนด์ 4.0 8) สร้างแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตรด้วยเทคโนโลยีควบคู่กับการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อสร้างเมืองนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 9) แสวงหาเงินทุนและบุคลากร เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดพัทลุงให้มีคุณภาพ 10) รวมกลุ่มกับพื้นที่ใกล้เคียงป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ 11) ให้ความรู้กับคนในท้องถิ่นในการป้องกันโรคติดต่อระบาด เช่น โรค Covid-19 12) สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐภาคเอกชนในการเฝ้าระวังการบุกรุกพื้นที่ป่า รวมทั้งป้องกันการทำลายธรรมชาติบริเวณท้องทะเล 13) จัดสรรงบประมาณในการอนุรักษ์พื้นที่ย่านประวัติศาสตร์ไทยในจังหวัดพัทลุง เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า 14) ส่งเสริมการอบรมทักษะและพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยว 15) ออกมาตรการป้องกันควบคุมการเกิดอบายมุขและสิ่งเสพติดในพื้นที่
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2348
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Tanuya Petsong.pdfTanuya Petsong7.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น