Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2340
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธาระวานิช, นพปฎล-
dc.date.accessioned2023-09-08T04:58:58Z-
dc.date.available2023-09-08T04:58:58Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.citationhttp://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=1842en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2340-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเกาะรัตนโกสินทร์มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ทั้งชั้นในและชั้นนอก 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเกาะรัตนโกสินทร์ 3) เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเกาะรัตนโกสินทร์ และ 4) เพื่อทำการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามหลักส่วนประสมทางการตลาต (7Ps) ตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามปลายปิดเก็บข้อมูลแบบบังเอิญจากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รายงานผล ด้วยสถิติเชิงอนุมาน สถิติทตสอบ One way ANOVA นัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเฉพาะเจาะจง 4 กลุ่ม คือ กลุ่มภาครัฐ กลุ่มภาคเอกชน กลุ่มนักการตลาด และกลุ่มชุมชน จำนวน 32 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้านเนื้อหา และการตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวเพศชาย 195 คน (ร้อยละ 48.75) เพศหญิง 193 คน (ร้อยละ 48.25) และเพศทางเลือก 12 คน (ร้อยละ 3.00) ช่วงอายุ 21-30 ปี 114 คน (ร้อยละ 28.50) สถานภาพการทำงาน ลูกจ้าง 107 คน (ร้อยละ 26.80) ระดับการศึกษาปริญญาตรี 256 คน (ร้อยละ 64.00) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001-20,000 158 คน (ร้อยละ 39.50) และประกอบอาชีพส่วนตัวมากที่สุด 95 คน (ร้อยละ 23.75) มาจาก 54 ประเทศ เรียงตามลำดับ 1-5 ได้แก่ อินเดีย จีน กัมพูชา สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม จากการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว 6 ด้าน ลำดับที่ 1 ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว (x̄ = 3.92) สิ่งอำนวยความสะดวก (x̄ = 3.64) ควรได้รับการปรับปรุงตรงกับข้อมูลเชิงคุณภาพ 2) พฤติกรรมนักท่องเที่ยวเข้ามาโดยรถสาธารณะ 2-3 คน ลักษณะความสัมพันธ์เป็นเพื่อน มีค่าใช้จ่ายระหว่าง 500-1,000 ดอลล่าร์ และรับรู้การประชาสัมพันธ์ข้อมูล ลำดับที่ 1 (x̄ = 3.80) การนำเสนอ (x̄ = 3.69) ควรได้รับการปรับปรุงตรงกับข้อมูลเชิงคุณภาพ 3) คุณภาพของแหล่งท่องเที่ยว ลำดับที่ 1 ความน่าสนใจ (x̄ <= 4.02) ความโดดเด่น (x̄ = 3.80) ควรได้รับการปรับปรุง และการให้บริการลำดับที่ 1 คือ ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม (x̄ = 3.88) ธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (x̄ = 3.74) ควรได้รับการปรับปรุง และ 4) ควรมีการส่งเสริมการท่องเที่ยว 5 ด้าน คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ การขนส่ง อาหารริมทาง ความรู้สึกในสถานที่ และประสบการณ์ท้องถิ่น รวมทั้งภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำเส้นทาง และกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายในพื้นที่ และส่งเสริมชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการ การท่องเที่ยวในพื้นที่ของตนเพื่อสร้างให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืนen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.subjectแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.subjectการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.subjectCultural Tourismen_US
dc.subjectCultural Tourism Attractionen_US
dc.subjectThe Promotion of Cultural Toursimen_US
dc.titleการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเกาะรัตนโกสินทร์en_US
dc.title.alternativeThe Promotion of Cultural Tourism in Rattanakosin Islanden_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noppadol Dharawanij.pdfNoppadol Dharawanij8.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.