กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2327
ชื่อเรื่อง: การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินพื้นที่สังคมป่าเต็งรัง มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Carbon Storage in Biomass Area of Dipterocarp forest University of Phayao, Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กุนแสง, ศุจีภรณ์
คำสำคัญ: ปริมาณการกักเก็บคาร์บอน
มวลชีวภาพ
ป่าเต็งรัง
Carbon stock
Biomass
Dipterocarp forest
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: การประเมินการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินพื้นที่สังคมป่าเต็งรัง มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา ศึกษา เพื่อประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอน และเพื่อเก็บข้อมูลตัวอย่างพรรณไม้ ทำการสำรวจพื้นที่ทั้งหมด 4,800 ตารางเมตร โดยวิธีการวางแปลงตัวอย่าง 3 สถานี คำนวณมวลชีวภาพเหนือพื้นดินโดยใช้สมการแอลโลเมตรี (Allometric) ประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอน วิเคราะห์องค์ประกอบและความสำคัญของพรรณไม้ (Important Value Index, IVI) ผลการสำรวจพบว่า พบพรรณไม้ใน 18 วงศ์ 41 ชนิด จำนวน 943 ต้น มีมวลชีวภาพรวมเท่ากับ 372,879.3 t.ha-1 มีการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมเท่ากับ 179,557.9 tC.ha-1 ดัชนีความสำคัญของพรรณไม้สูงสุด คือ พลวง (Dipterocarpus tuberculatus Roxb.) (77.40) รองลงมา คือ เต็ง (Shorea obtusa Wall. ex Blume.) (64.76) รัง (Pentacme siamensis (Miq.) Kurz.) (37.59) และเหียง (Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.) (23.04) ตามลำดับ ดัชนีความสำคัญเชิงสังคม ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (Species Diversity) เท่ากับ 2.19 ความมากหลายของชนิดพันธุ์ (Species Richness) เท่ากับ 6.86 และความสม่ำเสมอของชนิดพันธุ์ (Species Evenness) เท่ากับ 0.59 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางกายภาพต่อปริมาณการกักเก็บคาร์บอนเป็นไปในทางตรงกันข้ามที่ระดับ -0.33 มีความสัมพันธ์ทางตรงกันข้ามในระดับปานกลาง
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2327
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:คณะวิทยาศาสตร์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdfcontact49.47 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น