กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2320
ชื่อเรื่อง: | ผลของแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน แบคทีเรียละลายฟอสเฟต และละลายโพแทสเซียมต่อการเจริญเติบโต และการสร้างผลผลิตของข้าวสายพันธุ์ BKOS |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effect of Nitrogen-Fixing, Phosphate-Solubilizing and Potassium-Solubilizing Bacteria on Growth and Yield of Rice (Oryza sativa cv. BKOS) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุภางวงค์, ปิยะธิดา จำปารี, ยุทธนา |
คำสำคัญ: | แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน แบคทีเรียละลายฟอสเฟต แบคทีเรียละลายโพแทสเซียม ข้าว Nitrogen-fixing bacteria Phosphate-solubilizing bacteria Potassium-solubilizing bacteria Rice |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
บทคัดย่อ: | จุลินทรีย์หลายชนิดสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชโดยการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช การศึกษาอิสระนี้จึงศึกษา ผลของการประยุกต์ใช้แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน (ไอโซเลท N3) แบคทีเรียละลายฟอสเฟต (Bacillus cereus MT253) และแบคทีเรียละลายโพแทสเซียม (Burkholderia cepacia) ต่อการเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิตของข้าวสายพันธุ์ BKOS โดยพบว่า แบคทีเรียทั้ง 3 ชนิด ไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราการงอกของข้าว และเมื่อปลูกข้าวในกระถางที่มีดินผสมทราย อัตราส่วน 3:2 โดยมีเงื่อนไขทั้งหมด 6 เงื่อนไข พบว่า เงื่อนไขการเติมปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ส่งเสริมการเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิตดีที่สุด สำหรับเงื่อนไขที่มีการเติมแบคทีเรีย พบว่า การเติมแบคทีเรียรวม 3 ชนิดส่งเสริมการเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิตได้ดีกว่าการเติมแบคทีเรียชนิดเดี่ยวและไม่เติมแบคทีเรีย (ชุดควบคุม) โดยให้ค่าเฉลี่ยจำนวนกอเท่ากับ 2.4 กอต่อต้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 ของชุดควบคุม (1.94 กอต่อต้น) จำนวนรวง 1.6 รวงต่อต้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 ของชุดควบคุม (1.3 รวงต่อต้น) และเมื่อนำแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิดมาทำเป็นผงแป้งโดยผสมกับแป้งมันสำปะหลังอัตราส่วน 1:1.6 พบว่า แบคทีเรียทั้ง 3 ชนิดมีชีวิตรอดได้นานกว่า 90 วัน นอกจากนี้หากใช้แบคทีเรียเป็นปุ๋ยชีวภาพตลอดฤดูการเพาะปลูกจะมีต้นทุนการผลิต 800 บาทต่อไร่ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีมีต้นทุนการผลิตสูงถึง 3,600 บาทต่อไร่ ดังนั้น การประยุกต์ใช้แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน (N3) แบคทีเรียละลายฟอสฟอรัส (B. cereus MT253) และแบคทีเรียละลายโพแทสเซียม (Bu. cepacia) จึงเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและส่งเสริมให้คุณภาพดินดีขึ้น |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2320 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | คณะวิทยาศาสตร์ |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdf | contact | 49.47 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น