Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2278
Title: การเชื่อมโยงความในหนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2
Other Titles: Cohesion in the Supplementary Books in Thai Language of Prathomsueksa 1 and 2
Authors: คำภิระ, ศิริวรรณ
Keywords: การเชื่อมโยงความ
หนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาไทย
นักเรียนชั้นประถมศึกษา
Cohesion
Thai supplementary books
Elementary school students
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=577&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การเชื่อมโยงความในหนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 จำนวน 3 ประเด็น ได้แก่ การเชื่อมโยงความโดยการอ้างถึง การเชื่อมโยงความโดยการละ และการเชื่อมโยงความโดยการใช้คำเชื่อม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ หนังสืออ่านเพิ่มเติมชุดนิทานบันเทิงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี 2552 จำนวน 21 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสำหรับเก็บข้อมูลเป็นบัตรบันทึกข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า การเชื่อมโยงความโดยการอ้างถึงในหนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 มี 2 ลักษณะ คือ ประเภทแรก การอ้างถึงโดยสรรพนาม รูปภาษาที่แสดงการอ้างถึงมี 3 ลักษณะ ได้แก่ บุรุษสรรพนาม ประกอบด้วยสรรพนาม บุรุษที่ 1 บุรุษที่ 2 และบุรุษที่ 3 คำที่ทำหน้าที่เหมือนคำสรรพนาม มี 2 ประเภท คือ คำเรียกชื่อเฉพาะบุคคล และคำนามแสดงความเป็นเจ้าของและรูปศูนย์ โดยรูปศูนย์แสดงการอ้างถึงหน่วยนามที่ทำหน้าที่เป็นประธาน และหน่วยนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรม ประเภทที่สอง การอ้างถึงเชิงบ่งชี้ มี 2 ลักษณะ คือ การบ่งชี้ซ้ำเป็นบางส่วน และการบ่งชี้ซ้ำเต็มรูปแบบ การเชื่อมโยงความโดยการละ พบว่า มี 2 ลักษณะ คือ การละหน่วยนาม ซึ่งเป็นการละนาม และการละหน่วยกริยาเป็นการละกริยาวลี การเชื่อมโยงความโดยใช้คำเชื่อม จำแนกได้ 6 ลักษณะ ได้แก่ ความสัมพันธ์แบบคล้อยตาม ความสัมพันธ์แบบขัดแย้ง ความสัมพันธ์แบบแสดงเงื่อนไข ความสัมพันธ์แบบแสดงเหตุ ความสัมพันธ์แบบแสดงผล และความสัมพันธ์แบบให้เลือกหน้าที่ของคำเชื่อม จำแนกได้ 3 ประเภท ได้แก่ คำเชื่อมนามกับนาม คำเชื่อมกริยากับนาม และคำเชื่อมประโยคกับประโยค การปรากฏของคำเชื่อม พบว่า สามารถปรากฏได้ใน 3 ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งต้นประโยค ตำแหน่งต้นและกลางประโยค และตำแหน่งกลางประโยค
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2278
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriwan Khamphira.pdfSiriwan Khamphira2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.