กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2202
ชื่อเรื่อง: การศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A Study of Health Village Volunteers Behavior in Preventing Dengue Hemorrhagic Fever, Wangnua District, Lampang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จารี, กรรณิการ์
คำสำคัญ: การรับรู้
พฤติกรรม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
การป้องกันและควบคุมโรค
ไข้เลือดออก
Perception
Behavior
Health village volunteers
Prevention and control
Dengue hemorrhagic fever
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=917&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง โดยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 320 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง (Structured interview schedule) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และหาความสัมพันธ์โดยการทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู (Mann-whitney u test) การทดสอบครัสคาล-วัลลิส (Kruskal-wallis test) และสถิติสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน (Spearman rank correlation coefficient) ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 70.3 อายุเฉลี่ย 46 ปี อาชีพเกษตรกรร้อยละ 68.4 มีระยะเวลาการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเฉลี่ย 12 ปี ส่วนใหญ่มีประสบการณ์การอบรมป้องกันโรคไข้เลือดออกร้อยละ 89.1 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคไข้เลือดออก การรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก การรับรู้ประโยชน์ของโรคไข้เลือดออก และการรับรู้อุปสรรคของโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 61.3, 74.1, 52.5 และ 50.6 ตามลำดับ) และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 64.4) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ อาชีพ และระยะเวลา การปฏิบัติงาน อสม. มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก และการรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขได้ โดยเน้นการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรค นำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันโรค
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2202
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Kannikar Charee.pdfKannikar Charee3.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น