Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2179
Title: ปัจจัยการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มย่อยที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 36 จังหวัดเชียงราย
Other Titles: Factors of Education Quality in Secondary School Second Subgroup under The Secondary Educational Service Area Office 36 Chiang Rai Province
Authors: จันตาโลก, ชัยสิทธิ์
Keywords: การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การจัดการการศึกษา
Education management
Education quality
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=953&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และเพื่อศึกษาปัญหาและเสนอแนะของครูที่มีต่อปัจจัยการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มย่อยที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จังหวัดเชียงราย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ครู โรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มย่อยที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จังหวัดเชียงราย จำนวน 451 คน จากนั้นผู้วิจัยทำการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 212 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามแบบเลือกตอบ แบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบปลายเปิดในการเก็บในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อปัจจัยการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มย่อยที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ สูงสุด ได้แก่ ด้านชุมชน อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านครู อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านผู้เรียน อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก ต่ำสุด ได้แก่ ด้านผู้บริหาร อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ จากการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของครู พบว่า ด้านผู้บริหาร มีความเป็นกันเองและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคลากรในโรงเรียน ข้อเสนอแนะ พบว่า ผู้บริหารควรสร้างศรัทธาเป็นที่ยอมรับให้กับบุคลากรทุกฝ่าย ด้านครู พบว่า ครูรุ่นใหม่ขาดประสบการณ์ในการสอนทางวิชาการและคุณลักษณะความเป็นครู ข้อเสนอแนะ พบว่า โรงเรียนควรจัดให้มีการอบรม แลกเปลี่ยน และสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้ ด้านผู้ปกครอง พบว่า ผู้ปกครองขาดความเข้าใจในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ข้อเสนอแนะ พบว่า สถานศึกษาควรมีการจัดอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ด้านผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนควรพัฒนาความสามารถทักษะการคิดวิเคราะห์และการสื่อสารให้มากขึ้น ครู ควรนำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นระบบ ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ควรพัฒนาแหล่งค้นคว้าห้องสมุด จัดหาหนังสือ สื่อ และแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการเรียนที่ทันสมัย และเพียงพอ ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรส่งบุคลากรเข้ารับการประชุมสัมมนาด้านสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา ด้านชุมชน พบว่า ขาดการเปิดโอกาสให้ผู้มีความรู้ ความสามารถในท้องถิ่นมาร่วมในการให้ข้อเสนอแนะความคิดเห็นในการทำแผนการจัดการเรียนรู้ ควรจัดหลักสูตร หรือการเรียนการสอน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชนให้ผู้เรียนได้เรียนเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับชุมชนของตน
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2179
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaisit Jantalok.pdfChaisit Jantalok2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.