กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2127
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมทันตสุขภาพสำหรับผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่ยางเปี้ยว อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of Dental Health Program For Parents to Oral Health Care Among Pre-School Children in Ban Maeyangpieo Nursery, Rongkwang District, Phrae Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นำสม, กรรณิกา |
คำสำคัญ: | การดูแลสุขภาพช่องปาก โปรแกรมทันตสุขภาพ เด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก Dental health program Oral health care Preschool children Child Development Center |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1059&doc_type=0&TitleIndex=1 |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-experimental research) แบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว ทำการวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest design) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทันตสุขภาพโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพสำหรับผู้ปกครอง ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่ยางเปี้ยว อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่ยางเปี้ยว คัดเลือกโดยใช้เกณฑ์คัดเข้าและคัดออก จำนวน 50 คน โปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพ ประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้ การบรรยายประกอบสไลด์ วีดีโอ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเรียนรู้ผ่านตัวต้นแบบ การอภิปรายกลุ่ม การสาธิตและฝึกทักษะการแปรงฟัน การติดตามเยี่ยมบ้าน ใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Wilcoxon signed-rank test, Chi-square และ Fisher’s exact ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ทันตสุขภาพ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคฟันผุ การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคฟันผุ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันโรคฟันผุ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลทันตสุขภาพช่องปาก ทักษะการแปรงฟันของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน และปริมาณคราบจุลินทรีย์ในช่องปากเด็กก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P–value < 0.01, < 0.01, < 0.01, < 0.01, < 0.01, < 0.01, < 0.01 และ < 0.01 ตามลำดับ) |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2127 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Kunnika Numsom.pdf | Kunnika Numsom | 3.03 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น