Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2033
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1
Other Titles: The Relationship Between the Instructional Leadership of The School Administrators and the Efficiency of Learning Management of The Teachers in Phrapariyattidhamma Schools (General Education) Group 1
Authors: จุดสี, อนุรักษ์
Keywords: ภาวะผู้นำทางวิชาการ
ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้
Instructional Leadership
Efficiency of Learning Management
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=2052
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1 2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 194 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.983 ค่าความเชื่อมั่นของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร เท่ากับ 0.979 และค่าความเชื่อมั่นของประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู เท่ากับ 0.957 การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณาใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงอนุมานใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการให้การสนับสนุน กระตุ้นและให้กำลังใจแก่นักเรียนในการเรียน ด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพครู ด้านการสื่อสารเป้าหมายของสถานศึกษา ด้านการกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน ด้านการนิเทศและประเมินผลการสอน ด้านการประสานงานหลักสูตร ด้านการพิทักษ์การใช้เวลาในการสอน และด้านการทำตัวให้เป็นที่พบเห็นอยู่เป็นนิจ 2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ด้านการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (5=0.649) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2033
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anurak Judsee.pdfAnurak Judsee3.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.