Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1971
Title: 50 ปี แห่งความสำเร็จของบุคลากรกับการมีส่วนร่วมต่ออนาคตภาพทางการศึกษาในทศวรรษหน้าของโรงเรียนเชียงคำวิทยาคม อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
Other Titles: 50 Years of Achievement of Personnel’ Participation Towards Future Education in Coming Decade of Chiangkham Wittayakom School, Chiangkham Phayao
Authors: แสนเมืองใจ, ศลักษมณ์คุณ
Keywords: การมีส่วนร่วม
คุณภาพทางการศึกษา
บุคลากรทางการศึกษา
Participation
Educational quality
Educational personnel
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=320&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเรื่อง 50 ปี แห่งความสำเร็จของบุคลากรกับการมีส่วนร่วมต่ออนาคตภาพทางการศึกษาในทศวรรษหน้าของโรงเรียนเชียงคำวิทยาคม อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสำเร็จของบุคลากรจากการจัดการศึกษาของโรงเรียนเชียงคำวิทยาคมในระยะเวลา 50 ปี 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่ประสบความสำเร็จต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนเชียงคำวิทยาคม และ 3) เพื่อศึกษาความต้องการของบุคลากรที่ประสบความสำเร็จต่ออนาคตภาพทางการศึกษาในทศวรรษหน้า การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ใช้ระเบียบการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) กลุ่มประชากรประกอบด้วย อดีตผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ อดีตรองผู้อำนวยการ จำนวน 5 คน ผู้บริหารปัจจุบันที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเชียงคำวิทยาคม จำนวน 4 คน บุคลากรที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเชียงคำวิทยาคม จำนวน 6 คน และนักเรียนปัจจุบัน จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) จากการจัดการศึกษาของโรงเรียนเชียงคำวิทยาคมในระยะเวลา 50 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2504 จนถึงปีการศึกษา 2554 มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน เมื่อพิจารณาตามกรอบนโยบายการปฏิรูปการศึกษาแล้วจึงแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงก่อนปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2539 ช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 1 พ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2550 และช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 พ.ศ. 2552-2561 พบว่า ความสำเร็จของบุคลากรจากการจัดการศึกษาของโรงเรียนเชียงคำวิทยาคมในระยะเวลา 50 ปี ปรากฏผลดังนี้ รูปแบบการจัดการศึกษาทั้งช่วงก่อนการปฏิรูปการศึกษา ช่วงการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 1 และการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2 มีความแตกต่างกันในด้านวิชาการ เช่น หลักสูตรการศึกษา การจัดกระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล สื่อนวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ ด้านสภาพแวดล้อมทั่วไปในเรื่องความพร้อมของอาคารและสถานที่ ระบบการบริหารจัดการในโรงเรียน และด้านบุคลากรทางการศึกษา แต่ด้านคุณภาพการศึกษาที่เกิดขึ้นมีคุณภาพและมีความเท่าเทียมกัน สามารถสร้างความสำเร็จในหน้าที่การงานได้อย่างหลากหลาย เช่น ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารโรงเรียน ข้าราชการของหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนเป็นผู้นำท้องถิ่น เป็นต้น และพบว่า การมีส่วนร่วมของบุคลากรที่ประสบความสำเร็จมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษาร่วมกับโรงเรียนในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งในฐานะบุคคลผู้เป็นผู้ปกครองนักเรียน รูปแบบคณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่า คณะกรรมการสมาคมครูและผู้ปกครองนักเรียน หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ในท้องถิ่น คณะกรรมการสภานักเรียน และที่สำคัญ คือ การทำหน้าที่ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักวิชาชีพ ตลอดจนหน้าที่สำคัญ คือ การให้ความร่วมมือในการเข้ารับการศึกษาและตั้งใจศึกษาตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ในสถานภาพนักเรียน นอกจากนี้ความต้องการและแนวโน้มการจัดการศึกษาในทศวรรษหน้าที่ต้องการ คือ คุณภาพด้านการจัดการศึกษาเทียบเท่าโรงเรียนชั้นนำ ครูพัฒนาความรู้และเทคนิคการสอนในระดับมาตรฐานสากล นักเรียนธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยเฉพาะวัฒนธรรมไทลื้อ รวมไปถึงการมีแบบฉบับที่เป็นเอกลักษณ์ในด้านความคิด ความมีวินัย และความมั่นใจในการแสดงออก ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในการพูด ฟัง อ่าน และเขียน อย่างมีคุณภาพ พร้อมทั้งเรียนรู้ภาษา สังคม และวัฒนธรรมของเพื่อนบ้าน และมุ่งหวังให้โรงเรียนเชียงคำวิทยาคมเป็นศูนย์กลางของการจัดการเรียนการสอนในด้านภาษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ในอาเซียนแถบตะวันออกเพื่อรองรับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า จีน รวมไปถึงเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่วัฒนธรรมไทลื้อ นอกจากนั้นเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ สร้างองค์ความรู้ในรูปแบบ Product Activity พร้อมทั้งใช้เทคโนโลยีการสร้างเครือข่ายเพื่อนำเสนอ เผยแพร่แลกเปลี่ยนในด้าน ความรู้ สังคม และวัฒนธรรม สู่กลุ่มประชาคมอาเซียนและเวทีโลก
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1971
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Salakkhun Sanmeungjai.pdfSalakkhun Sanmeungjai8.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.