Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1962
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เพ็ชรหาญ, ธนโชติ | - |
dc.date.accessioned | 2023-05-31T07:23:08Z | - |
dc.date.available | 2023-05-31T07:23:08Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.citation | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1603&doc_type=0&TitleIndex=1 | en_US |
dc.identifier.uri | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1962 | - |
dc.description.abstract | ชั้นการจับกุม เป็นขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 บัญญัติว่า ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิพบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว และให้ทนายความเข้าฟังการสอบปากคำได้ในชั้นสอบสวน และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 บัญญัติว่า ในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น เสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี แม้ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณจักรไทย พุทธศักราช 2560 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจะบัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ตาม แต่โดยสภาพความเป็นจริงในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย ปรากฎว่าการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลย ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ต้องหาหรือจำเลยยังไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เนื่องจากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 บัญญัติแต่เพียงว่าผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมมีสิทธิพบ และปรึกษาผู้ซึ่งจะป็นทนายความได้เป็นการเฉพาะตัว โดยบทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ และระยะเวลาในการให้สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความในทันทีที่มีการจับกุม และไม่มีการกำหนดบทบัญญัติที่ให้รัฐต่อจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในชั้นจับกุม ทำให้ผู้ต้องหาไม่ได้รับโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ดังนั้น ข้อเสนอแนะ คือ 1) ควรมีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยเพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา 7/1 โดยการกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการให้สิทธิที่จะพบ และปรึกษาทนายความในทันทีที่มีการจับกุม 2) การกำหนดบทบัญญัติที่ให้รัฐต้องจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในชั้นจับกุม ในกรณีที่มีฐานะยากจนและไม่มีความสามารถในการหาทนายความได้ด้วยตนเอง 3) ในคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปนั้น ถือว่าเป็นคดีอาญาที่มีอัตรโทษร้ายแรง และส่งผลกระทบต่อชีวิตและเสรีภาพของผู้ต้องหา เป็นอย่างมากจึงควรมีทนายความร่วมอยู่ด้วยในการแจ้งข้อกล่าวหา เพื่อทนายความได้คัดค้าน หากการแจ้งข้อกล่าวหาไม่ถูกต้องเพื่อเป็นการรักษาสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาในชั้นจับกุม ให้สมดั่งเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย | en_US |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.subject | ทนายความขอแรง | en_US |
dc.subject | ชั้นจับกุมของพนักงานตำรวจ | en_US |
dc.subject | กระบวนการของรัฐที่ดีที่คำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน | en_US |
dc.subject | การควบคุมอาชญากรรมโดยรัฐ | en_US |
dc.subject | สิทธิมนุษยชน | en_US |
dc.subject | จังหวัดเชียงราย | en_US |
dc.subject | Defense counsel | en_US |
dc.subject | Arrest process | en_US |
dc.subject | Due process | en_US |
dc.subject | Crime control | en_US |
dc.subject | Human rights | en_US |
dc.subject | Chiang Rai province | en_US |
dc.title | ปัญหาและอุปสรรคในการมีทนายความขอแรงในชั้นจับกุมของพนักงานตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 7/1 : กรณีศึกษาในพื้นที่จังหวัดเชียงราย | en_US |
dc.title.alternative | The Problems and Obstacles in Having the Defense Counsel in the Police Arrest Process According to the Criminal Procedure Code Section 7/1 : A Case Study in Chiang Rai Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tanachot Pethan.pdf | Tanachot Pethan | 1.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.