กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1961
ชื่อเรื่อง: | การใช้สารชีวภาพของเกษตรกรในหมู่บ้านห้วยตุ้ม ตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อุ่นบ้าน, ณรงค์ฤทธิ์ บุณโยทยาน, พัฒนยุค |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
บทคัดย่อ: | จุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาการใช้สารชีวภาพของเกษตรกรบ้านห้วยตุ้ม ตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขที่มีผลต่อการใช้สารชีวภาพของเกษตรกรบ้านห้วยตุ้ม ตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้สารชีวภาพของเกษตรกรบ้านห้วยตุ้ม ตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เกษตรกรที่ใช้สารชีวภาพ บ้านห้วยตุ้ม ตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย หลังจากได้ลองใช้สารชีวภาพ เมื่อผ่านการอบรมเรื่องสารชีวภาพ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2548 จำนวน 115 ครัวเรือน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดย คำนวณด้วยสูตรของยามาเน่ (Yamanae) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเอง ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนของเกษตรกรที่ใช้สารชีวภาพด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ คำเฉลี่ย คำเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อให้สามารถตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ ผลการศึกษาค้นคว้า การใช้สารชีวภาพทางการเกษตรของเกษตรกรบ้านห้วยตุ้ม ตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย พบว่า การยอมรับใช้สารชีวภาพของเกษตรกร เนื่องจากมีการรวมกลุ่มของเกษตรกร ซึ่งส่วนมากเป็นสมาชิกทางการเกษตร นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีการประชาสัมพันธ์ผ่านการฝึกอบรม สารชีวภาพที่เกษตรกรใช้ส่วนใหญ่ได้แก่ สูตร พด.1 โดยใช้ในการปลูกข้าว ลำไย พริกและพืชผักสวนครัว กลุ่มตัวอย่างระบุว่า ผลจากการใช้สารชีวภาพทำให้ได้ผลผลิตดี เช่น ได้ข้าวรวงใหญ่ ได้ผลดี เมล็ดมีน้ำหนักมาก ต้นสมบูรณ์ใบเขียว ลำไยมีผลดก ผลใหญ่ ใบเขียว ได้ผลดี มีรสหวาน พริกมีใบสมบูณ์ ไม่หยิกงอ สีสวย มีผลดก ไม่มีแมลง นอกจากนี้ สารชีวภาพยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะทำให้ดินมีคุณภาพดีและน้ำไม่เน่าเสีย เงื่อนไขที่มีผลต่อการใช้สารชีวภาพของเกษตรกร ได้แก่ ปุ๋ยเคมีมีราคาแพงและทำให้ดินเสื่อมสภาพ วัตถุดิบในการผลิตสารชีวภาพหาได้ง่าย สารชีวภาพมีต้นทุนต่ำ เกษตรกรได้รับการอบรม เรื่องการอนุรักษ์น้ำและดิน และประโยชน์ของปุ๋ยชีวภาพจัดโดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง คิดว่าสารชีวภาพมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ ผู้สัมผัสมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไม่มีสารตกค้างส่วนปัญหาในการใช้สารชีวภาพทางการเกษตร ได้แก่ ขาดแคลนแรงงานที่ใช้ในการผลิต ใช้เวลาในการหมักปุ้ยนาน ขาดแคลนเครื่องมือ ขาดงบประมาณสนับสนุนเกษตรกรได้ให้ข้อเสนอแนะ ว่าควรมีการผลิตสารชีวภาพให้มีใช้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐควรให้การสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ในการผลิต |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1961 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Narongrit Unban.pdf | Narongrit Unban | 21.98 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น