Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1924
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอุดคำมี, กัญญารัตน์-
dc.date.accessioned2023-05-01T07:31:56Z-
dc.date.available2023-05-01T07:31:56Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1092&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1924-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยในการบริหารงานบุคคลจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานหอพัก จำนวน 200 คน ได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืน 173 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ f-test ผลการศึกษาพบว่า พนักงานหอพักส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-30 ปี มีสถานภาพสมรส มีภูมิลำเนา/ที่อยู่อาศัยที่บ้าน ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า ระยะเวลาในการทำงาน 4 ปีขึ้นไป รายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 5,001-9,000 บาท และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการหอพัก ระดับความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีผลต่อความต้องการที่จะปฏิบัติงานกับองค์กรในระยะยาว พบว่า พนักงานให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความต้องการที่จะปฏิบัติงานกับองค์กรในระยะยาว ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสัมพันธ์ในที่ทำงาน มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปัจจัยด้านความรับผิดชอบ ปัจจัยด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ปัจจัยด้านความมั่นคงในงาน และต่ำที่สุด คือ ปัจจัยด้านค่าตอบแทน จากการทดสอบสมมุติฐานพบความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการที่จะปฏิบัติงานกับองค์กรในระยะยาว เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล จำนวน 5 ด้าน แต่มีเพียงด้านความรับผิดชอบเท่านั้นที่ไม่พบความแตกต่าง เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิจัยครั้งนี้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในการกำหนดนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของหอพักในเขตตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ให้สอดคล้องกับปัจจัยส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectพนักงานหอพักen_US
dc.subjectการบริหารทรัพยากรบุคคลen_US
dc.subjectจังหวัดพะเยาen_US
dc.subjectHuman resource managementen_US
dc.subjectDormitory employeesen_US
dc.subjectPhayao provinceen_US
dc.titleปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีผลต่อความต้องการที่จะปฏิบัติงานกับองค์กรในระยะยาว กรณีศึกษา หอพักเขตตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยาen_US
dc.title.alternativeHuman Resource Management Factors That Affected Long-Term Loyalty to Workplace Case Study Dormitories in Maeka Sub-District, Muang District, Phayao Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanyarat Autcomeme.pdfKanyarat Autcomeme2.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.