Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1857
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมงคลชัยอรัญญา, สุรัตน์-
dc.contributor.authorรัชชกูล, ศันสณี-
dc.contributor.authorผู้กฤตยาคามี, พวงทอง-
dc.date.accessioned2023-03-02T02:39:39Z-
dc.date.available2023-03-02T02:39:39Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1857-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากคนพิการในชุมชนในพื้นที่นำร่องโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยปฏิบัติการ (Action research) ร่วมกับแนวคิดการพัฒนาชุมชน (Community developmen) ประชากรที่ศึกษาเป็นคนพิการในพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัด คือ จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ตำบลป่าหวายนั่ง ตำบลโคกงาม อำเภอบ้านฝาง ตำบลสะอาด และตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ ตำบลนากลาง และตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน และจังหวัดอุบลราชธานี ตำบลในอำเภอเมือง พื้นที่ปฐมภูมิเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ เลือกพื้นที่เป็นแบบฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ ใช้ดัชนีการตรวจฟันผุอุดถอน (DMFT) รายงานการให้บริการทันตกรรม รายงานจากการติดตามในพื้นที่และการประชุมดำเนินการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ุ-ตุลาคม 2558 นำผลมาวิเคราะห์ใช้สถิติร้อยละและสังเคราะห์ตามวิธีการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพื้นที่นำร่องเลือกกลุ่มเป้าหมายเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหว เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนสูงที่สุดดำเนินงานรวมกับทีมสหวิชาชีพในสถานบริการโดยมีรูปแบบการทำงานเชิงรุกในชุมชนมีขั้นตอน ดังนี้ ค้นหาคนพิการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากและให้สุขศึกษาแก่คนพิการหรือผู้ดูแล คืนข้อมูลแก่ครอบครัวและชุมชนประสานงานกับท้องถิ่นเพื่อจัดรถรับส่งหรือจัดหาผู้ช่วยเหลือคนพิการในการไปรับบริการ จัดระบบบริการของหน่วยบริการ ได้แก่ การนัดหมาย การจัดช่องทางพิเศษหรือจัดเวลาเฉพาะให้จัดบริการให้ถึงบ้านในกรณีที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ ติดตามผลการดูแลสุขภาพช่องปากที่บ้านเป็นระยะ ๆ ผ่านทางการเยี่ยมบ้านของทีมสหวิชาชีพหรือทีมจิตอาสาในชุมชน ทั้งนี้พบว่า โรคฟันผุในคนพิการมีความชุกร้อยละ 55.9 - 87.9 บริการที่ให้ ได้แก่ การตรวจช่องปาก สอนทันตสุขศึกษา อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินน้ำลาย และใส่ฟันเทียม โดยสามารถให้บริการทันตกรรมและส่งเสริมสุขภาพคนพิการเป้หมายได้ตั้งแต่ร้อยละ 13.2 (อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา) สูงสุดร้อยละ 53.4 (อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น) ข้อเสนอแนะควรศึกษเพิ่มเพื่อทดสอบรูปแบบที่ได้โดยดำเนินการต่อในพื้นที่เดิม ขยายไปพื้นที่อื่น เพิ่มความครอบคลุมความพิการประเภทอื่นให้มากขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อมูลทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectคนพิการen_US
dc.subjectการเข้าถึงen_US
dc.subjectบริการสุขภาพช่องปากen_US
dc.subjectชุมชนen_US
dc.subjectPhysically disableden_US
dc.subjectAccess to oral health serviceen_US
dc.subjectCommunityen_US
dc.titleการเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากคนพิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชน พื้นที่นำร่อง 3 จังหวัดen_US
dc.title.alternativeTo Raise the Accessibility to Oral Health Among the Disabled People in 3 Pilot Provincesen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surat Mongkolncahiarunya.pdfSurat Mongkolncahiarunya661.25 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.