Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1827
Title: ทัศนคติของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 35 ต่อสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
Other Titles: Attitudes of English Teachers in World-Class Standard Schools Under the Secondary Educational Service Area Office 35 Towards the Conditions of English Teaching and Learning
Authors: ยอดศรี, อัญชลี
Keywords: ทัศนคติ
สภาพการจัดการเรียนการสอน
โรงเรียนมาตรฐานสากล
ภาษาอังกฤษ
Attitudes
World class standard school
Conditions of teaching and learning
English
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1001&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 ต่อสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ใน 3 ด้าน คือ ด้านคุณภาพวิชาการ ด้านคุณภาพครู และด้านการวิจัยและพัฒนา ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 152 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 จาก 20 โรงเรียน ใน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนมาตรฐานสากล มีทัศนคติในด้านคุณภาพครู อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 ด้านการวิจัยและพัฒนา และด้านคุณภาพวิชาการ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย คือ 3.42 และ 3.01 ตามลำดับ ข้อมูลจากคำถามปลายเปิด พบว่า ในด้านคุณภาพวิชาการ ครูผู้สอนคิดว่า เนื้อหาของหลักสูตรมีความเหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนมาตรฐานสากลและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 โรงเรียนมีสื่อการสอน และแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย และใช้ได้จริงในการจัดการเรียนการสอน มีการวัดผลประเมินผลมีความครอบคลุมทักษะฟัง พูด อ่าน เขียน ตามแบบทดสอบวัดระดับความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ เทียบเคียงมาตรฐานสากล (The Common European Framework of Reference for Languages: CEFR) ด้านคุณภาพครู พบว่า ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ และสามารถใช้สื่อนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน เข้ารับการทดสอบวัดระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษ และอบรมสัมมนาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของด้านการวิจัยและพัฒนาโรงเรียนมีการส่งเสริมให้ครูมีการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง และใช้ผลการวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาเทียบเคียงมาตรฐานสากล นอกจากนี้ โรงเรียนยังมีการประเมินผลการวิจัยของครูในทุกภาคเรียน และจัดให้มีเวทีนำเสนองานวิจัยในชั้นเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการทำวิจัย
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1827
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anchalee Yodsri.pdfAnchalee Yodsri1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.