Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1816
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorบุตรพรม, วรางคณา-
dc.date.accessioned2022-12-27T03:52:49Z-
dc.date.available2022-12-27T03:52:49Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=999&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1816-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหากลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาการท่องเที่ยวและโรงแรม มหาวิทยาลัยพะเยาเพื่อเปรียบเทียบกลวิธีการสื่อสารของนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันอย่างไร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยพะเยา ปีการศึกษา 2559 จำนวน 45 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพื่อทำการกรอกแบบสอบถาม จากนั้นนิสิตจะถูกแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเก่งกลาง และอ่อน โดยใช้เกรดเฉลี่ยของวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน และวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อการพัฒนาของปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์การแบ่ง เพื่อทำการสำรวจ และสัมภาษณ์เป็นกลุ่มกลุ่มละ 2 คน ในส่วนของวิธีดำเนินการวิจัย การศึกษานี้เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามเรื่อง กลวิธีการสื่อสาร การสำรวจ และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากงานวิจัย ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำข้อมูลจากบทสนทนามาถอดความและประมวลผล ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการสื่อสารภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยพะเยานิยมใช้มากที่สุด คือ กลวิธีการหยุดชั่วขณะเพื่อคิด ส่วนกลวิธีการสื่อสารที่นิยมใช้ น้อยที่สุด คือ กลวิธีการหลีกเลี่ยง นอกจากนั้นผลการสำรวจยังพบว่า กลวิธีการสื่อสารของนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนอยู่ในระดับสูงที่นิยมใช้มากที่สุด คือ กลวิธีการหยุดชั่วขณะเพื่อคิด และนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระดับปานกลางนิยมใช้มากที่สุด คือ กลวิธีการยืมคำ อีกทั้งนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำนิยมใช้กลวิธีการหลีกเลี่ยงมากที่สุด นอกจากนั้น ผลของการสัมภาษณ์ พบว่า นิสิตได้เล็งเห็นความสำคัญของกลวิธีการสื่อสาร เนื่องจากกลวิธีการสื่อสารนี้เป็นเครื่องมือช่วยในการสื่อสารภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectกลวิธีการสื่อสารen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectการเรียนภาษาอังกฤษในฐานะเป็นภาษาต่างประเทศen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษen_US
dc.subjectการเรียนรู้en_US
dc.subjectภาษาต่างประเทศen_US
dc.subjectCommunication strategiesen_US
dc.subjectTourismen_US
dc.subjectEFLen_US
dc.subjectEnglishen_US
dc.subjectLearningen_US
dc.subjectForeign languageen_US
dc.titleกลวิธีการสื่อสารของนิสิตสาขาการท่องเที่ยวที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะเป็นภาษาต่างประเทศen_US
dc.title.alternativeCommunication Strategies Used by Tourism Learners in EFL Classroomsen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warangkana Bootprom.pdfWarangkana Bootprom1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.