กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1733
ชื่อเรื่อง: ผลของรูปแบบการให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของสตรีในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่กา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Result of the Cervical Cancer Knowledge Model as Health Belief Model of Women in Maeka Health promoting Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไชยา, เบญจวรรณ
คำสำคัญ: โรคมะเร็งปากมดลูก
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ
Cervix cancer
Health belief model
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=994&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้โอกาสเสี่ยง ความรุนแรง ผลดีของการปฏิบัติ และอุปสรรคของการปฏิบัติเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ก่อนและหลังการให้ความรู้ และเพื่อเปรียบเทียบการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก ก่อนและหลังการให้ความรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ สตรี อายุ 30–60 ปี ที่แต่งงานแล้ว ไม่เคยได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก อย่างน้อย 5 ปี โดยและสมัครใจเข้าร่วมโครงการ จํานวน 30 คน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลแม่กา สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ pair t-test ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค ความรุนแรงของโรค ผลดีและอุปสรรคของการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ก่อนและหลังการให้ความรู้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1733
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Benjawan Chaiya.pdfBenjawan Chaiya1.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น