Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1657
Title: การส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียนเชียงคำวิทยาคม จังหวัดพะเยา
Other Titles: Classroom Action Research Promotion of Teachers in Chiangkham Wittayakhom School, Phayao Province
Authors: ศรีจันทร์, กุสุมา
Keywords: การทำวิจัยในชั้นเรียน
การส่งเสริม
ครู
Conducting research in the classroom
Promotion
Teachers
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=344&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนโรงเรียนเชียงคำวิทยาคม อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ปีการศึกษา 2554 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 92 คน โดยผู้ศึกษาได้ส่งแบบสอบถามด้วยตนเอง และได้รับกลับคืนมา 83 ชุด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถามหลังจากผ่านการหาความเชื่อมั่น และมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา การส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนโรงเรียนเชียงคำวิทยาคม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงาน 1-5 ปี และมีประสบการณ์ในการทำวิจัยในชั้นเรียน 1 ปี สภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก เห็นว่าการทำวิจัยในชั้นเรียนมีความจำเป็นมากที่สุดต่อวิชาชีพครู ดังนั้น ความรู้ในกระบวนการทำวิจัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการทำวิจัยในชั้นเรียน ครูไม่ค่อยมีเวลาสำหรับการทำวิจัยในชั้นเรียน ส่วนการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลาง โดยทางโรงเรียนได้จัดเตรียมระบบอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพไว้บริการ และได้ชี้นำให้ครูเห็นความสำคัญ และประโยชน์ของการทำวิจัยในชั้นเรียน แต่ทางโรงเรียน ยังขาดการเสริมแรงหรือให้ขวัญกำลังใจแก่ครูผู้ทำวิจัย ด้านปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู คือ ปัญหาด้านกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน ภาระงานของครูมีมาก โรงเรียนมีข้อจำกัดเรื่องการเข้าเวบไซต์ต่าง ๆ การขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการทำวิจัยที่ถูกต้อง การทำวิจัยไม่ค่อยมาจากสภาพการเรียนการสอน และผลของการวิจัยไม่ได้นำไปแก้ไขปัญหาผู้เรียนจริง ส่วนปัญหาด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน และให้การสนับสนุนในการทำวิจัยในชั้นเรียนนั้น ผู้บริหารควรมอบหมายภาระงานให้ครูผู้สอนไม่มากเกินไปซึ่งจะส่งผลให้ครูไม่มีเวลาในการทำวิจัยในชั้นเรียน การสนับสนุนการทำวิจัยใน ชั้นเรียนยังขาดต่อเนื่อง ขาดการเสริมแรงหรือขาดแรงจูงใจ จึงทำให้งานวิจัยในชั้นเรียนไม่มีคุณภาพ ไม่มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำวิจัยในชั้นเรียนระหว่างเพื่อนครูด้วยกัน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ค่อยมีส่วนร่วมหรือมีข้อแนะนำในการทำวิจัยในชั้นเรียนให้แก่ครู โรงเรียนไม่มีคณะกรรมการที่ให้คำปรึกษาการทำวิจัยในชั้นเรียน นักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย มีความสามารถในการรับรู้ ไม่เท่ากันและให้ความร่วมมือน้อย สำหรับปัญหาด้านงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และแหล่งข้อมูลนั้น โรงเรียนจัดสรรงบประมาณในการทำวิจัยในชั้นเรียนค่อนข้างจำกัด และไม่ต่อเนื่อง ครูขาดความชำนาญในการใช้สื่ออิเลคทรอนิกส์ โรงเรียนมีข้อจำกัดในการให้บริการการสืบค้นข้อมูล ในบางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และในห้องสมุดไม่ค่อยมีเอกสารงานวิจัยและตัวอย่างงานวิจัย ส่วนความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนนั้น ครูต้องการให้มีการอบรมหรือนำผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำวิธีการหรือกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนที่ถูกต้อง โดยเฉพาะศึกษานิเทศก์ และคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในการทำวิจัยมาดูแลช่วยเหลือในการทำวิจัยอย่างใกล้ชิด ทั่วถึงและจริงจัง รวมทั้งผู้บริหารควรมีการนิเทศ ติดตามอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ มีโครงการการอบรมการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง จัดสรรงบประมาณที่ใช้ในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูมากขึ้น และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ สื่ออิเลกทรอนิกส์ในการทำวิจัยในชั้นเรียนให้เพียงพอ โรงเรียนควรแนะนำระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ให้แก่ครูผู้ทำวิจัยอย่างเสรีมากขึ้น ครูควรมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กันในเรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองควรเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการ การทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนมากขึ้น นักเรียนกลุ่มตัวอย่างควรให้ข้อมูลตามความเป็นจริงด้วยความเต็มใจ
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1657
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kusuma Srichan.pdfKusuma Srichan3.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.