กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1642
ชื่อเรื่อง: | คุณภาพน้ำในระบบบึงประดิษฐ์แบบลอยน้ำโดยใช้แพลงก์ตอนพืชเป็นดัชนีชี้วัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Water Quality in Floating Constructed Wetland Systems Using Phytoplankton as Bioindicator |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ใจยะเขียว, รัฐธนานุพนต์ โทจรัญ, จักรกฤษณ์ |
คำสำคัญ: | แพลงก์ตอนพืช คุณภาพน้ำ ดัชนีชีวภาพ ระบบบึงประดิษฐ์ Phytoplankton Water quality Diversity index Constructed wetland system |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำในระบบบึงประดิษฐ์แบบลอยน้ำโดยใช้แพลงก์ตอนพืชเป็นดัชนีวัด ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2559 ซึ่งพบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด ดังนี้ 1) น้ำเสียก่อนเข้าระบบ พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 4 Divisions 31 genera 64 species โดยแพลงก์ตอนพืชที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ Division Chlorophyta 56% และต่ำสุด ได้แก่ Division Euglenophyta 9% และ Division Cyanophyta 9% 2) ชุดการทดลองควบคุมไม่มีแพลอยน้ำ พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 4 Divisions 34 genera 61 species โดยแพลงก์ตอนพืชที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ Division Bacillariophyta 49% และต่ำสุด คือ Division Cyanophyta 9% 3) ชุดการทดลองควบคุมมีแพลอยน้ำ พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 4 Divisions 33 genera 56 species โดยแพลงก์ตอนพืชที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ Division Bacillariophyta 41% และต่ำสุด คือ Division Cyanophyta 4% 4) ชุดการทดลองพืชกกลังกา พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 4 Divisions 33 genera 60 specie โดยแพลงก์ตอนพืชที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ Division Chlorophyta 44% และต่ำสุด คือ Division Cyanophyta 7% 5) ชุดการทดลองพืชไอริส พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 4 Divisions 34 genera 61 species โดยแพลงก์ตอนพืชที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ Division Bacillariophyta 37% และต่ำสุด คือ Division Cyanophyta 13% คุณภาพน้ำโดยใช้แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นที่พบ โดยวิธี AARL-PP Score จัดอยู่ในระดับ 5.6-7.5 คะแนน บ่งชี้คุณภาพอยู่ในระดับ Meso-eutrophic หรือสารอาหารปานกลางถึงสูง โดยแพลงก์ตอนพืชจีนัส Scenedesmus และ Cyclotella เป็นจีนัสที่พบมากที่สุดในน้ำเสียก่อนเข้าระบบซึ่งสามารถบ่งชี้สภาพคุณภาพน้ำต่ำได้ นอกจากนี้พบว่า เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ Canonical Correspondence Analysis (CCA) เพื่อหาความสัมพันธ์ของแพลงก์ตอนพืชกับคุณภาพน้ำบางประการ สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Euglena sp.5 Euglena sp.6 Nitzchia palea Monoraphidium contortum และ Phacus ranula มีแนวโน้มสัมพันธ์เชิงบวกกับแอมโมเนียไนโตรเจน กลุ่ม Euglena sp.7 Phacus sp:1 Phacus sp.2 Golenkinia sp.1 และ Cosmarium sp.1 มีแนวโน้มสัมพันธ์เชิงบวกกับ DO และกลุ่ม Closteriopsis sp.2 มีแนวโน้มสัมพันธ์เชิงบวกกับไนโตรเจนรวมและปริมาณของแข็งแขวนลอย |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1642 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | คณะวิทยาศาสตร์ |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Rutthananuphon Jaiyakhiaow.pdf | Rutthananuphon Jaiyakhiaow | 9.64 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdf | ติดต่อ | 49.47 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น