กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1640
ชื่อเรื่อง: โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Structure and Distribution of Fish Community in Kwan Phayao, Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เหมยเมืองแก้ว, ธชพรรณ
นามมั่น, วธิดา
วรรณา, วริศรา
คำสำคัญ: ความหลากหลาย
ความชุกชุม
โครงสร้าง
การแพร่กระจายของประชาคมปลา
Diversity
Abundance
Structure
Distribution of the fish community
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกชุม ความหลากหลาย โครงสร้าง และการกระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา โดยทำการสุ่มเก็บข้อมูลด้วยชุดเครื่องมือข่ายขนาดช่องตา 6 ขนาด ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 โดยแบ่งการสำรวจออกเป็น 4 จุดเก็บตัวอย่าง ได้แก่ สะพานขุนเดช บ้านสันเวียงใหม่ บ้านร่องไฮ และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา ผลการศึกษาพบชนิดพันธุ์ปลาทั้งหมด 22 ชนิด 9 วงศ์ มีค่าความชุกชุมสัมพัทธ์ของชุดเครื่องมือข่ายเฉลี่ยเท่ากับ 933.28±169.33 กรัม/ พื้นที่ข่าย 100 ตารางเมตร/คืน องค์ประกอบของโครงสร้างของประชาคมปลา พบปลาตะเพียนขาวเป็นชนิดพันธุ์ปลาที่มีค่าร้อยละ โดยจำนวนและน้ำหนักสูงสุดร้อยละ 45.78 และ 49.99 ตามลำดับ ดัชนีความมากชนิด ดัชนีความเท่าเทียม และดัชนีความหลากหลายของประชาคมปลา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56±0.11, 0.63±0.04 และ 1.32±0.07 ตามลำดับ การแพร่กระจายของประชาคมปลา พบชนิดพันธุ์ปลาที่กระจายมากที่สุด ได้แก่ ปลาตะเพียนขาว ปลาไส้ตันตาขาว ปลาแป้นแก้ว ปลาซ่า และปลากดขี้ลิง ประสิทธิผลการจับของข่ายขนาดช่องตา 20, 30, 45, 55, 70 และ 90 มิลลิเมตร พบว่าข่ายขนาดช่องตา 30 มิลลิเมตร มีผลจับเฉลี่ยสูงสุด 2435.71 กรัมต่อพื้นที่ข่าย 100 ตารางเมตรต่อคืน
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1640
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:คณะวิทยาศาสตร์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Tachapan meimuaengkeaw.pdfTachapan meimuaengkeaw1.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น