Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1347
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเพ็งลุน, ปองเอก-
dc.date.accessioned2022-05-05T03:14:49Z-
dc.date.available2022-05-05T03:14:49Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1532&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1347-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการตระหนักรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนวรรณคดีในการเสริมสร้างการตระหนักรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 3) เพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษาต่อการใช้รูปแบบการสอนวรรณคดี ประชากร คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 47 คน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา เรื่องสั้น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บทเรียนเรื่องสั้น 9 แผน แบบทดสอบการตระหนักรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบเขียนสะท้อนคิด และแบบสังเกตการณ์ในชั้นเรียน ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ทางสถิติโดยการหาค่า paired sample t-test ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขณะที่ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1) มีความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบการตระหนักรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างก่อนและหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าอิทธิพลเฉลี่ย 1.350 ซึ่งหมายถึงค่าอิทธิพลมาก และมีการตระหนักรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง 2) การใช้รูปแบบการสอนวรรณคดีเพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง มีประสิทธิภาพมีค่าเท่ากับ 81.57/81.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบเขียนสะท้อนคิด แบบสังเกตในชั้นเรียน นำมาช่วยเสริมผลของแบบสอบถามว่า นักศึกษามีทัศนคติในแง่บวกต่อการสอนนี้โดยใช้รูปแบบการสอนวรรณคดี ในภาพรวมอยู่ในระดับ “เห็นด้วย” (x̄ = 4.26 and S.D. = 0.33) นอกจากนี้ผลการศึกษาของแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง พบว่า รูปแบบการสอนวรรณคดีส่งเสริม การตระหนักรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างและเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่ดีของนักศึกษาต่อวัฒนธรรมที่เหมือนกันและแตกต่างกันในประเทศกลุ่มประชาคมอาเซียน เช่นเดียวกันกับกิจกรรมของรูปแบบการสอนวรรณคดีในแต่ละบทเรียนสามารถส่งเสริมการอภิปรายกลุ่มและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectความตระหนักรู้ในวัฒนธรรมที่แตกต่างen_US
dc.subjectผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศen_US
dc.subjectรูปแบบการสอนวรรณคดีen_US
dc.subjectIntercultural awarenessen_US
dc.subjectEFL Learnersen_US
dc.subjectLiterature Instructional Modelen_US
dc.titleการพัฒนาความตระหนักรู้ในวัฒนธรรมที่แตกต่างของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศผ่านการใช้รูปแบบการสอนวรรณคดีen_US
dc.title.alternativeFostering Intercultural Awareness of EFL Learners Through the use of Literature Instructional Modelen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pong-ek Pengloon doc.pdfPong-ek Pengloon4.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.