กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1317
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขเพศหญิง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of Self-Efficacy and Health Promoting Program Based on Bandura Model for Skill of Breast Self-Examination Among Health Village Volunteers (VHV) in Dok Kham Tai District, Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชุมภู, วราภรณ์
คำสำคัญ: โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ
การรับรู้ของแบนดูรา
การตรวจเต้านม
อาสาสมัครสาธารณสุข
จังหวัดพะเยา
Health Promoting Program
ฺBreast checking
Bandura Model
Village Health Volunteer
Phayao Province
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=551&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะ และพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่ถูกต้องของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หญิง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยาที่ได้รับการสอนด้วยโปรแกรมส่งเสริมความสามารถของตนเอง และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองและกลุ่มที่ได้รับการสอนตามกิจวัตร กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi stage sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน โดยกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรม การตรวจเต้านมด้วยตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไป การรับรู้ความสามารถตนเองและข้อมูลพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองส่งผลต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรี มีผลทำให้ 1) กลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเองสูงกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) กลุ่มทดลองมีการสร้างแรงจูงใจในการตรวจเต้านมด้วยตนเองสูงกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองสูงกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1317
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Varaporn Choompu.pdfVaraporn Choompu994.88 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น