กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1301
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้พฤติกรรมการดูแลตนเองในหญิงมีครรภ์ที่ 1 อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effectiveness of Perceived Self-Care and Health Promoting Behavior Program Among 1st Primigravida Women Muang District Phayao Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บัวอินเทร์, พัชรชิตา |
คำสำคัญ: | การรับรู้ พฤติกรรม ครรภ์ที่ 1 หญิงมีครรภ์แรก Recognition Behavior Pregnant one Primigravida |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=550&doc_type=0&TitleIndex=1 |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้พฤติกรรมการดูแลตนเองในหญิงมีครรภ์ที่ 1 อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบมีสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังทดลองวัตถุประสงค์ เพื่อผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้พฤติกรรมการดูแลตนเองในหญิงมีครรภ์ที่ 1 ที่มารับบริการสถานบริการสาธารณสุขในเขตอำเภอเมืองพะเยา ซึ่งจะนำผลที่ได้ไปส่งเสริมระบบบริการสาธารณสุขระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และการให้บริการเชิงรุกในชุมชน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หญิงมีครรภ์ที่ 1 โดยอาศัยอำนาจการแห่งทดสอบ (Power of test) จำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเจาะจง โดยกำหนดเกณฑ์คุณสมบัติ เพื่อคัดเลือกเข้ากลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้พฤติกรรมการดูแลตนเอง 5 ด้าน ได้แก่ การปฏิบัติตัว การมีเพศสัมพันธ์ การจัดการกับความเครียด การออกกำลังกายและพักผ่อน และการเลือกบริโภคอาหาร คำนวณหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้พฤติกรรมการดูแลตนเอง ของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติ paired t-test และเปรียบเทียบคะแนนการรับรู้ฯ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ใช้สถิติ Indepentdent t-test คำนวณสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการศึกษาพบว่า คะแนนการรับรู้ของกลุ่มทดลอง คะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) และเปรียบเทียบคะแนนการรับรู้ฯ หลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มตัวอย่างกับกลุ่มควบคุม พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองของหญิงมีครรภ์กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1301 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Patchita Bauin.pdf | Patchita Bauin | 1.58 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น