Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/128
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอิทธิพลาลักษณ์, ธีรัตน์-
dc.date.accessioned2020-02-25T08:27:48Z-
dc.date.available2020-02-25T08:27:48Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1290&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://10.209.10.67:8080/handle/123456789/128-
dc.description.abstractการแก้ไขปัญหายาเสพติดในปัจจุบันเน้นกระบวนการบำบัดฟื้นฟูเป็นสำคัญ ตามแนวคิดที่ว่า “ผู้เสพคือผู้ป่วย” โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในกระบวนการบำบัดฟื้นฟูในระดับอำเภอเป็นอย่างมากตามประกาศ คสช. 108/2557 โดยในประกาศ คสช. 108/2557 ข้อ 1 วรรคสาม ได้กำหนดให้เรื่องกระบวนการหรือแนวทางการนําตัวผู้ต้องสงสัยเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู การบำบัดฟื้นฟู และการประเมินเป็นผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประกาศกำหนด ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่อง การนำตัวผู้ต้องสงสัยเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู การบำบัดฟื้นฟู และการประเมินเป็นผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู พ.ศ.2560 แต่ในทางปฏิบัติการบำบัดฟื้นฟูในระดับอำเภอนั้นยังคงมีปัญหาอยู่หลายประการ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาถึงปัญหาดังกล่าวในพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย จากการศึกษาพบปัญหาในเรื่องการนำตัวผู้เสพยาเสพติดเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูไม่เหมาะสมกับระบบที่ใช้บำบัดฟื้นฟูโดยมีการบังคับผู้เสพยาเสพติดเข้ารับการบำบัดในระบบสมัครใจ ปัญหาในเรื่องเวลาทำการที่ศูนย์เพื่อการคัดกรองนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่จนนำไปสู่ช่องว่างที่ทำให้ผู้เสพยาเสพติดหลบหนีได้ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องยังขาดทักษะความรู้ความสามารถในด้านการติดตามดูแลช่วยเหลือและสนับสนุนส่งผลให้ผู้เสพยาเสพติดกลับมาอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมและกลับไปเสพยาซ้ำอีก ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่ารัฐบาลควรที่จะกำหนดกระบวนการหรือแนวทางให้ชัดเจนในประกาศสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่อง การนำตัวผู้ต้องสงสัยเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู การบำบัดฟื้นฟู และการประเมินเป็นผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู พ.ศ. 2560 โดยควรมีการปรับปรุงใน เรื่อง 1) การนำตัวผู้เสพยาเสพติดเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูในระบบสมัครใจโดยต้องเป็นกรณีที่สมัครใจด้วยตนเองจริง ๆ มิใช่เกิดจากการบังคับ ขู่เข็ญ หรือจูงใจ ด้วยประการอื่นใดจากเจ้าหน้าที่ 2) ระยะเวลาทำการของศูนย์เพื่อการคัดกรอง 3) การกำหนดเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญในการช่วยเหลือสนับสนุนผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู เพื่อช่วยเหลือผู้เสพยาเสพติดให้หมดไปจากสังคมและให้ผู้เสพยาเสพติดสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขในสังคมen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectผู้เสพยาเสพติดen_US
dc.subjectการบำบัดฟื้นฟูen_US
dc.subjectระบบสมัครใจen_US
dc.subjectมาตรการทางกฎหมายen_US
dc.subjectDrug addictsen_US
dc.subjectRehabilitation therapyen_US
dc.subjectVoluntary systemen_US
dc.subjectLegal measuresen_US
dc.titleปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กรณีศึกษาในพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงรายen_US
dc.title.alternativeThe Problem and Legal Measures of Drug Addict Rehabilitation: A Case Study in the Area of Wiang Pa Pao District Chiang Rai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
34.Thirat Itthipalaluk.pdfThirat Itthipalaluk1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.