กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1053
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียความเป็นกรดสูงโดยใช้พืชท้องถิ่นบริเวณพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Plant Biodiversity in Mea Tam Water Shade Area for The Use on Strong Acidity Wastewater Treatment
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สารประ, ภัทร์ธีรา
โปดำ, สุพรรษา
คำสำคัญ: บึงประดิษฐ์
ไหลใต้ผิวในแนวราบ
พุทธรักษา
ผักคราดหัวแหวน
ความเป็นกรดสูง
Constructed wetland
Horizontal subsurface flow
Canna spp.
Acmellaoleracea (L.)
Strong acidity
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: การบำบัดน้ำเสียโดยใช้ระบบบึงประดิษฐ์อาศัยพืชในการบำบัดเป็นหลัก พืชที่เลือกใช้โดยมากเป็นพืชที่มีโอกาสแพร่กระจายข้ามถิ่นได้ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษา ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียความเป็นกรดสูง โดยเลือกใช้พืชสองชนิด คือ พุทธรักษา Canna spp. และพืชท้องถิ่นในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ต๋ำ คือ ผักคราดหัวแหวน Acmellaoleracea (L.) ระบบที่ใช้ในการศึกษาเป็นบึงประดิษฐ์แบบไหลใต้ผิวในแนวราบ เพื่อทดสอบความสามารถในการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ที่ควบคุมพีเอชเท่ากับ 4 และ 5 โดยมีการภาระบรรทุกทางชลศาสตร์ (HLR) 5 ซม/วัน ผลการวิจัยพบว่า ผักคราดหัวแหวนมีอัตราการบำบัดได้ดีกว่าพุทธรักษา เนื่องจากพืชสามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในน้ำเสีย ที่มีค่าพีเอช 5 ทำให้ช่วยเพิ่มออกซิเจนในระบบได้ดี ส่วนการทดลองป้อนน้ำเสีย พีเอช 4 พบว่า พืชทั้งสองชนิดไม่สามารถทนต่อสภาพความเป็นกรดได้ อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพการบำบัดของแข็งละลายน้ำ, ฟอสฟอรัส, เจดาลห์ไนโตรเจน และซีโอดี มีแนวโน้มลดลงตามระยะเวลาที่พืชรับน้ำเสีย
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1053
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:คณะวิศวกรรมศาสตร์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Patteera Sarnpra.pdfPatteera Sarnpra3.2 MBAdobe PDFดู/เปิด
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdfติดต่อ49.47 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น