กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1037
ชื่อเรื่อง: กระบวนการสร้างหนังสือเล่มเล็กเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านหลวง ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Processes of Minitext Creation for The Writing Skill Development of Matthayomsuksa 3 Students in Chumchon Baanluang School, Chiang Muan Subdistrict, Chiang Muan District , Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัตนแพทย์, อำพรรณ
คำสำคัญ: หนังสือเล่มเล็ก
วรรณกรรมเด็กและเยาวชน
โรงเรียนชุมชนบ้านหลวง
Minitext
Child and youth literature
Chumchon Baanluang school
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=576&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก ศึกษากระบวนการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก และประเมินผลการจัดทำหนังสือเล่มเล็กของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านหลวง ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ในระยะที่ 1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้อมูลประวัติโรงเรียน ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน มรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นรอบโรงเรียน ระยะที่ 2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มนักเรียนจำนวน 4 กลุ่ม และระยะที่ 3 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน เพื่อนนักเรียน และนักเรียนผู้เป็นเจ้าของผลงาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ระยะที่ 1 พบว่า ข้อมูลที่จะสร้างแรงบันใจในทำหนังสือเล่ม คือ ประวัติโรงเรียน ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน มรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ระยะที่ 2 พบว่า กระบวนการสร้างหนังสือเล่มเล็ก มีขั้นตอนการดำเนินการ 4 ขั้น ได้แก่ การตั้งชื่อเรื่อง การเขียนโครงเรื่อง การเขียนตัวเรื่อง และการจัดทำเป็นเล่มหนังสือ ระยะที่ 3 พบว่า หนังสือเล่มเล็กของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านหลวง มีค่าเฉลี่ย คือ การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.83 การเขียนเนื้อเรื่อง ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.00 การเขียนสะกดคำและแต่งประโยค ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 79.17 การวาดภาพประกอบ ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 90.83 และการจัดทำรูปเล่ม ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 86.67 คะแนน รวมทุกกลุ่มเฉลี่ยร้อยละ 83.50 แสดงว่านักเรียนมีความสามารถในการสร้างหนังสือเล่มเล็ก เรื่อง “ประเพณียี่เป็ง” อยู่ในระดับดีมาก
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1037
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Ampan Rattanapaet.pdfAmpan Rattanapaet5.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น