กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1008
ชื่อเรื่อง: กลวิธีสื่ออารมณ์ขันของคณะหมอลำอีสาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strategies of Humor in the Northeastern Thai Molum
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มูลวาปี, พยงค์
คำสำคัญ: กลวิธีการสื่อสาร
หมอลำ
อารมณ์ขัน
ภาษาไทย
Humor Strategies
Molum
Thai Language
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1737&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลวิธีสื่ออารมณ์ขันของคณะหมอลำอีสานจากบทแสดงหมอลำอีสาน 10 คณะ เช่น คณะประถมบันเทิงศิลป์ คณะเสียงอีสาน และคณะระเบียบวาทศิลป์ จำนวน 20 เรื่อง เช่น อิเหนา กิ่งฟ้า กาหลงคอน เจ้าหญิงแตงอ่อน โดยใช้แนวคิดการประกอบสร้างภาษาและกลวิธีการสื่อสารในระดับสัมพันธสาร ผลการวิจัยโดยสรุป มี 2 ประการ การประกอบสร้างภาษาสื่ออารมณ์ 3 ประการ องค์ประกอบทางเนื้อเรื่องของการสื่ออารมณ์ขัน พบเนื้อหาที่ทำให้เกิดอารมณ์ขัน 3 ตอน คือ ตอนเปิดเรื่อง ระหว่างเสนอเนื้อเรื่อง และตอนจบเรื่อง โดยตอนเปิดเรื่องมี 3 ลักษณะ คือ การสนทนา การใช้บทเพลง และการแสดงท่าทาง ระหว่างการดำเนินเรื่องมี 2 ลักษณะ คือ เนื้อหาขัดแย้งกัน และเนื้อหาคล้อยตาม และตอนจบเรื่อง มี 3 ลักษณะ คือ การสนทนา บทบรรยาย และเพลงกลอนลำ สำหรับการประกอบสร้างวัจนภาษาสื่ออารมณ์ขัน เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบของระดับในภาษา 3 ระดับ ในระดับมีคำที่ใช้ประกอบสร้างภาษาสื่ออารมณ์ขัน 7 ลักษณะ คือ คำมูล คำประสม คำซ้อน คำซ้ำ คำประสาน คำทับศัพท์ และคำย่อ ในระดับความหมายจะพบคำที่ประกอบสร้างเพื่อสื่ออารมณ์ขัน 2 ลักษณะ คือ คำเน้นความหมายสื่อสาระ และคำเน้นความหมายสอดสังคม ส่วนในระดับสัมพันธสาร มีลักษณะของการสื่อสารแล้วก่อให้เกิดอารมณ์ขัน 2 ลักษณะ คือ การเริ่มต้นและการลงท้าย และการแสดงหัวเรื่องและการเปลี่ยนหัวเรื่อง และประการที่สามการประกอบสร้างอวัจนภาษาสื่ออารมณ์ขัน พบว่า คณะหมอลำอีสานใช้อวัจนภาษา 7 ลักษณะ คือ เทศภาษา กาลภาษา เนตรภาษา สัมผัส ภาษา อาการภาษา วัตถุภาษา และปริภาษาในการประกอบสร้างภาษาสื่ออารมณ์ขัน และกลวิธีการใช้ภาษาสื่ออารมณ์ขันของคณะหมอลำอีสาน มี 8 กลวิธี ได้แก่ การใช้ภาษาไม่เป็นทางการ การใช้ท่วงทำนองและภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน การใช้ภาษาอุทาน มี 10 ลักษณะ เช่น แสดงความน้อยใจ แสดงความดีใจ และแสดงความเสียใจ การใช้ภาษาเฉพาะกิจมี 10 กลวิธี เช่น ภาษาผวน ภาษาหยาบ และภาษาแกล้งผิด การขยายความ มี 4 กลวิธี เช่น การไขความ การให้ตัวอย่าง และการให้เหตุผล การสมมุติมี 3 กลวิธี คือ การสมมุติคนเป็นยาสีฟันและสินค้าอื่น ๆ ทางสื่อมวลชน การตั้งฉายา ตำแหน่งหรือหน้าที่ และสมมุติฟ้าเป็นมุ้ง การอ้างอิง มี 3 กลวิธี คือ การอ้างอิงรายการทางสื่อมวลชน สัตว์มงตลในเทพนิยาย และอ้างอิงภูมิปัญญาไทย และการหักมุม เป็นการจบเรื่องแบบผู้ชมคาดไม่ถึง
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1008
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Payong Moonvapee.pdfPayong Moonvapee.3.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น