Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1910
Title: | การพยากรณ์แนวโน้มการส่งออกข้าวไทยไปยังประเทศจีน และประเทศสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2559-2563 |
Other Titles: | Forecasting Trend In Thailand Rice Export to China and the United States from 2016-2020 |
Authors: | ทะนันใจ, รุ่งฤทัย |
Keywords: | การตลาดข้าว การผลิตข้าว ข้าว มูลค่าการส่งออก แนวโน้ม การพยากรณ์ The grain market Rice production Rice Export value Trend Forecast |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1121&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การศึกษาเกี่ยวกับ การพยากรณ์แนวโน้มการส่งออกข้าวไทยไปยังประเทศจีน และประเทศสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2559-2563 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การผลิต การตลาด และการส่งออกข้าวไทยไปยังประเทศจีนและประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเป็นข้อมูลทุติยภูมิในการเก็บข้อมูลการผลิต การตลาด และการส่งออก ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล 2) เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและพยากรณ์การส่งออกข้าวไทยไปยังประเทศจีน และประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเป็นข้อมูลทุติยภูมิในการเก็บรวบรวมสถิติการส่งออก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550–2558 เป็นการวิเคราะห์เชิงอนุมาน โดยใช้การวิเคราะห์แบบอนุกรมเวลา ในการวิเคราะห์แนวโน้มและพยากรณ์การส่งออกข้าวที่สีแล้ว และปลายข้าวไปยังประเทศจีน และการส่งออกข้าวกล้อง ข้าวที่สีแล้ว และปลายข้าวไปประเทศสหรัฐอเมริกา ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยค่าแนวโน้มของประเทศจีนจะใช้การวิเคราะห์แบบ Cubic ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้การวิเคราะห์แบบ Power โดยวิธีแยกส่วนประกอบข้อมูลมูลค่าการส่งออกรายไตรมาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550–2558 รวม 36 ไตรมาส และทำการแยกส่วนประกอบในรูปของผลคูณผ่านค่าแนวโน้ม ค่าความผันแปรตามฤดูกาล ค่าความเคลื่อนไหวตามวัฏจักรความเคลื่อนไหวผิดปกติ และนำค่าที่ได้มาพยากรณ์มูลค่าการส่งออกในปี พ.ศ. 2559–2563 จากการวิเคราะห์สถานการณ์การผลิต การตลาด และการส่งออกข้าวของประเทศไทยไปยังประเทศจีน และประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า การผลิตข้าวของไทยในปีการผลิต 2557/58 มีพื้นที่เพาะปลูกลดลงจากปีการผลิต 2556/57 ร้อยละ 3.83 ซึ่งผลผลิตลดลงจากปีการผลิต 2556/57 ร้อยละ 3.04 เนื่องจากเกิดจากผลกระทบจากภัยแล้ง และการผลิตข้าวไทยที่มีต้นทุนเฉลี่ยในการผลิตสูงขึ้นทุกปี จาก 10,399 บาท/ตัน ในปี พ.ศ. 2554 ถึง ปี พ.ศ. 2557 10,885 บาท/ตัน และต้นทุนเริ่มลดลงในปี พ.ศ. 2558 10,292 บาท/ตัน โดยรายได้จากผลผลิตข้าวลดลงอย่างต่อเนื่อง จำนวน 301,898 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2554 และ ปี พ.ศ. 2558 ลดลง 193,215 ล้านบาท โดยวิถีการตลาดการค้าข้าวไทยในปี พ.ศ. 2558 การจำหน่ายให้กับผู้บริโภคในประเทศจะจำหน่ายผ่านทางสหกรณ์การเกษตร บริษัทพ่อค้าในท้องถิ่น โรงสีข้าว โรงงานแปรรูป พ่อค้าปลีก คิดเป็นร้อยละ 51.31 สำหรับการส่งออกไปต่างประเทศจะผ่านโรงสี หยง ผู้ส่งออก และโรงงานแปรรูป ทั้งนี้ประเทศไทยจัดส่งไปขายที่ประเทศจีนร้อยละ 3.05 ประเทศสหรัฐอเมริการ้อยละ 1.38 และประเทศอื่น ๆ ร้อยละ 41.39 ส่วนพยากรณ์แนวโน้มการส่งออกข้าวที่สีแล้ว และปลายข้าวไทยไปยังประเทศจีน พบว่า เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุก ๆ ไตรมาส โดยเฉพาะไตรมาสที่ 4 ตั้งแต่เดือน ตุลาคม–ธันวาคม เพิ่มขึ้นมากที่สุด สำหรับไตรมาสที่เพิ่มขึ้นน้อยที่สุด คือ ไตรมาสที่ 3 เดือน กรกฎาคม–สิงหาคม ของทุกปี และการพยากรณ์แนวโน้มการส่งออกข้าวกล้อง ข้าวที่สีแล้ว และปลายข้าวไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า มีแนวโน้มมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุก ๆ ไตรมาส โดยเฉพาะไตรมาสที่ 4 ตั้งแต่เดือน ตุลาคม–ธันวาคม เพิ่มขึ้นมากที่สุด สำหรับไตรมาสที่เพิ่มขึ้นน้อยที่สุด คือ ไตรมาสที่ 3 เดือน กรกฎาคม–สิงหาคม ของทุกปี แต่อย่างไรก็ตามข้าวกล้องมีการส่งออกเพิ่มขึ้นสูงสุดในไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ. 2559 และลดลงทุกปี จนถึง ปี พ.ศ. 2563 ไตรมาสที่ 4 |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1910 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rungruthai Thananchai.pdf | Rungruthai Thananchai | 6.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.