Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1799
Title: ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
Other Titles: The Effectiveness of Health Belief Application Program for Stroke Prevention Behavior Among Hypertensive Patients at Muang District, Phayao Province
Authors: เงินดี, กรรณิการ์
Keywords: โปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ
พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
Health belief application program
Stroke prevention behavior
Hypertensive patients
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract: โรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง การป้องกันโรคจำเป็นต้องให้ความรู้กระตุ้นเตือน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง แบบศึกษาสองกลุ่มวัดผลก่อน-หลัง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้เกณฑ์คัดเข้าคัดออกได้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 30 คนต่อกลุ่ม แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการจับฉลากในการคัดเลือกเข้ากลุ่ม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน Mann-Whitney U และ Wilcoxon signed ranks test ผลการวิจัย พบว่า ค่าคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรค หลอดเลือดสมอง การรับรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง (ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง) และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ก่อนและหลังการทดลอง ในกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p < 0.001, < 0.001, < 0.001, < 0.001, < 0.001, < 0.001 และ 0.009 ตามลำดับ) และเปรียบเทียบค่าคะแนนระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ ภายหลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ 0.05 (p < 0.001 เท่ากัน) การจัดโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรค หลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1799
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kannikar Ngerndee.pdfKannikar Ngerndee3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.