Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/993
Title: ผลของไอโอเดตและไอโอไดด์ต่อผลผลิตและคุณภาพของผักคะน้าและผักกาดฮ่องเต้ที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์
Other Titles: Effect of Iodate and Iodide on Yield and Quality of Chinese Kale and Pak Choi Grown in Hydroponics Systems
Authors: ปัญญา, กานต์พิชชา
Keywords: ไอโอดีน
ผักคะน้า
ผักกาดฮ่องเต้
การเจริญเติบโต
ผลผลิต
ระบบไฮโดรโพนิกส์
Iodine
Kale
Lettuce
Growth
Product
Hydroponics Systems
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=404&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของไอโอเดต และไอโอไดด์ ต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและการสะสมไอโอดีนของผักคะน้า และผักกาดฮ่องเต้ที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์ โดยใช้ไอโอเดตจากโพแทสเซียมไอโอเดต หรือไอโอไดด์จากโพแทสเซียม ไอโอไดด์ที่ระดับความเข้มข้น 10, 20, 30, 40 และ 50 ไมโครโมลาร์ โดยการเติมลงไปในสารละลายธาตุอาหาร หรือใช้สารละลายไอโอดีน 0, 2.5, 5, 10, 20 และ 40 มิลลิกรัมต่อลิตร ฉีดพ่นลงบนพืชที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตลอดระยะเวลาการเจริญเติบโตจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ทำการวัดผลการเจริญเติบโต ได้แก่ ความสูงต้น ความยาวราก และวัดผลทางด้านผลผลิต และคุณภาพผลผลิต ได้แก่ น้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง ปริมาณคลอโรฟิลล์ การเติมสารละลายไอโอเดตที่ระดับความเข้มข้นเพิ่มขึ้น พบว่า ไม่มีผลต่อความสูงต้น ปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมด และปริมาณไนเตรทที่สะสม เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ไม่มีการเติมไอโอเดตแต่มีแนวโน้มทำให้ ผลผลิต และปริมาณไอโอดีนที่สะสมเพิ่มมากขึ้น โดยที่สารละลายไอโอเดตที่ระดับความเข้มข้น 30 หรือ 50 ไมโครโมลาร์ มีผลทำให้ผักคะน้าหรือผักกาดฮ่องเต้มีผลผลิต และปริมาณไอโอดีนสะสมมากที่สุด โดยมีน้ำหนักสดเท่ากับ 96.48 หรือ 120.13 กรัม/ต้น และมีปริมาณไอโอดีนที่สะสมเท่ากับ 52.22 หรือ 56.88 ไมโครกรัม/100 กรัมน้ำหนักสด ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับผักคะน้าและผักกาดฮ่องเต้ของชุดควบคุม ที่ไม่มีการเติมสารละลายไอโอเดตที่มีน้ำหนักสด 86.43 หรือ 99.05 กรัม/ต้น และมีปริมาณไอโอดีนที่สะสมเท่ากับ 38.89 หรือ 39.56 ไมโครกรัม/100 กรัมน้ำหนักสด การเติมสารละลายไอโอไดด์ที่ระดับความเข้มข้นมากขึ้นจะทำให้การเจริญเติบโต และผลผลิตของผักคะน้าและผักกาดฮ่องเต้ลดลง โดยที่สารละลายไอโอไดด์ที่ระดับความเข้มข้น 50 หรือ 10 ไมโครโมลาร์ ทำให้ผักคะน้าหรือผักกาดฮ่องเต้มีผลผลิต และปริมาณไอโอดีนสะสมมากที่สุด โดยมีน้ำหนักสดเท่ากับ 96.35 หรือ 119.09 กรัม/ต้น และมีปริมาณไอโอดีนที่สะสม เท่ากับ 59.55 หรือ 40.56 ไมโครกรัม/100 กรัมน้ำหนักสด ในขณะที่ผลต่อผักคะน้าหรือผักกาดฮ่องเต้ของชุดควบคุม ที่ไม่มีการเติมสารละลายไอโอไดด์มีน้ำหนักสดเท่ากับ 84.79 หรือ 120.04 กรัม/ต้น และทำให้มีปริมาณไอโอดีนที่สะสมเท่ากับ 40.89 หรือ 31.56 ไมโครกรัม/100 กรัมน้ำหนักสด การฉีดพ่นสารละลายไอโอเดตและไอโอไดด์ในทุกระดับความเข้มข้น พบว่า ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของผักคะน้าและผักกาดฮ่องเต้ เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม แต่มีแนวโน้มในการเพิ่มปริมาณไอโอดีนในเนื้อเยื่อพืชเพิ่มมากขึ้น เมื่อระดับความเข้มข้นของไอโอเดตและไอโอไดด์ที่เพิ่มขึ้น โดยที่การฉีดพ่นไอโอไดต 20 หรือ 40 มิลลิกรัม/ลิตร ทำให้ผักคะน้าและผักกาดฮ่องเต้มีการสะสมไอโอดีนมากที่สุดเท่ากับ 34.89 หรือ 40.23 ไมโครกรัม/100 กรัมน้ำหนักสด และการฉีดพ่นไอโอไดด์ที่ระดับความเข้มข้น 10 หรือ 40 มิลลิกรัม/ลิตร ทำให้ผักคะน้าและผักกาดฮ่องเต้มีปริมาณการสะสมไอโอดีนมากที่สุดเท่ากับ 36.23 หรือ 41.56 ไมโครกรัม/100 กรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับผักคะน้าและผักกาดฮ่องเต้ในชุดควบคุมที่มีปริมาณไอโอดีนสะสม 31.56 และ 34.89 ไมโครกรัม/100 กรัมน้ำหนักสด
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/993
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanpitcha Panya.pdfKanpitcha Panya3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.