Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/98
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorคำงาม, อรวรรณ-
dc.date.accessioned2020-01-31T02:14:20Z-
dc.date.available2020-01-31T02:14:20Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1477&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://10.209.10.67:8080/handle/123456789/98-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดลำปาง 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดลำปาง ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ เพศ อายุ ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการสอน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาในการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดลำปาง จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t–test และสถิติ f–test ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา จังหวัดลำปางตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีปัญหาอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการโอนผลการเรียน และด้านที่มีปัญหาการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ด้านการจัดหลักสูตรอาชีวศึกษา 2) ผลการเปรียบเทียบปัญหาจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดลำปาง เมื่อจำแนกสถานภาพตามตำแหน่งและประสบการณ์ในการสอน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นแตกต่างกัน 3) แนวทางแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาได้มีแนวทางจัดการศึกษา ทั้งหมด 9 ด้าน คือ 1) ด้านการวิเคราะห์ประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน 2) ด้านการกำหนดหลักสูตรสถานศึกษา 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ด้านการจัดหลักสูตรอาชีวศึกษา 5) ด้านการวัดผลประเมินผล 6) ด้านการโอนผลการเรียน 7) ด้านการสำเร็จการศึกษา 8) ด้านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ และ 9) ด้านการประกันคุณภาพหลักสูตรen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectปัญหาและแนวทางจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา)en_US
dc.subjectProblems and guidelines of the co-educational curriculum provision of vocational and upper secondary educationen_US
dc.subjectหลักสูตรทวิศึกษาen_US
dc.subjectDual educationen_US
dc.subjectCo-educational curriculumen_US
dc.titleปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารจัดการหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จังหวัดลำปางen_US
dc.title.alternativeProblems and Guideline of the Co-Educational Curriculum Provision of Vocational and Upper Secondary Education (Dual Education) under the Office of the Vocational Education Commission, Lampang Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59207069.pdfOrawan Khamngam1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.