Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/845
Title: | การศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของกลุ่มองค์กรในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในตำบลหนองแก๋ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | The Role Participation of the Organization Prevention and Control of Hemorrhagic Fever in Nongkaew Subdistrict Hangdong District, Chiang Mai Province |
Authors: | ปนันคำ, อนุชาติ |
Keywords: | โรคไข้เลือดออก การป้องกัน การควบคุมโรค Dengue fever Protection Disease control |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=462&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของกลุ่มองค์กรของตำบลหนองแก๋ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 528 คน คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า บทบาทการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของกลุ่มองค์กร โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 103.10 เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.53 ด้านการตัดสินใจและวางแผนการดำเนินการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.59 ด้านการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 34.67 ด้านการประเมินผล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.77 ในด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.59 การเปรียบเทียบบทบาทการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก การรับรู้ความรุนแรงของกลุ่มองค์กรโดยรวมและรายด้าน พบว่า การมีส่วนร่วมการรับรู้ความรุนแรงในการป้องกัน และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในแต่ละด้าน มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติที่ 0.05 เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบรายคู่ พบว่า ในด้านการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ซึ่งกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน คือ กลุ่มผู้นำ กับกลุ่มสตรีแม่บ้านและกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกับกลุ่มสตรีแม่บ้าน ในด้านการตัดสินใจและวางแผน มีความแตกต่างที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ซึ่งกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน คือ กลุ่มผู้นำกับกลุ่มสตรีแม่บ้านและกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกับกลุ่มสตรีแม่บ้าน ในด้านการดำเนินงาน มีความแตกต่างที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ซึ่งกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน คือ กลุ่มผู้นำกับกลุ่มสตรีแม่บ้านและกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กับกลุ่มสตรีแม่บ้าน ในด้านการประเมินผล มีความแตกต่างที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ซึ่งกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน คือ กลุ่มผู้นำกับกลุ่มสตรีแม่บ้านและกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกับกลุ่มสตรีแม่บ้าน และในด้านการรับรู้ความรุนแรง มีความแตกต่างที่ระดับนัยสำคัญ ที่ 0.05 ซึ่งกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน คือ กลุ่มผู้นำกับกลุ่มสตรีแม่บ้านและกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกับกลุ่มสตรีแม่บ้าน ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกกลุ่มองค์กรในชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อจะทำให้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/845 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anuchart Panankam.pdf | Anuchart Panankam | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.