Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/670
Title: | ปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาองค์กรและสังคม กรณีศึกษา โรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์ |
Authors: | รักประชา, สรพัศ |
Keywords: | แรงจูงใจ องค์กรและสังคม การพัฒนา โรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์ |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Abstract: | จุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาปัญหาในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในองค์กร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพเพื่อพัฒนาองค์กรและสังคม วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นพยาบาลวิชาชีพและหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานูเคราะห์ จำนวน 389 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล และเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาองค์กรและสังคม ที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้น นำแบบสอบถามตรวจสอบด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิทดสอบความเที่ยง โดยใช้ส้มประสิทธิอัลฟาครอนบาค (Alfa cronbach coefficient) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมีนาคม 2547 จำนวน 389 ฉบับได้รับคืน จำนวน 332 ฉบับ คิดเป็น ร้อยละ 85.34 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป SPSS for windows (Statistical Package for the Social Science for Windows โดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคว์สแคว์ สรุปผลวิจัยมีดังนี้ ผลการศึกษาค้นคว้า 1) กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าชาย มีอายุอยู่ในช่วง 21 -30 ปี มากที่สุด ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ปฏิบัติงานพยาบาลมาแล้วเป็นเวลาอยู่ในช่วง 0.-10 ปี มากที่สุด มีสถานภาพสมรสมากที่สุด มีวุฒิการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีมากที่สุด เงินเดือนที่ได้รับอยู่ในช่วง 6000 - 8000 บาท มากที่สุด ตำแหน่งานในปัจจุบันเป็นพยาบาลวิชาชีพ 7 มากที่สุด ทั้งหมดรับผิดชอบ จำนวนหนึ่ง หอผู้ป่วย ในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาได้เข้าฟังการบรรยายทางวิชาการเกี่ยวกับการพยาบาล จำนวน 6-10 ครั้งมากที่สุด เคยผ่านการฝึกอบรมระยะสั้นทางการพยาบาลมากที่สุด โดยเข้าอบรมด้านวิชาการทางพยาบาลมากที่สุด และปัจจุบันพักอยู่ที่บ้านส่วนตัวมากที่สุด 2) ปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาองค์กรและสังคมในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าด้านความพึงพอใจในการทำงานในสังคม (นอกสถานที่) และด้านความพึงพอใจในการทำงานในองค์กรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 3) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และประสบการณ์การทำงานไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาองค์กรและลังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านตำแหน่งมีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาองค์กรและสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/670 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Soraphat Rakpracha.pdf | Soraphat Rakpracha | 27.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.