Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/564
Title: | การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยรถอาหารเคลื่อนที่ (Food Truck) กรณีศึกษา: อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
Other Titles: | Promotion of Gastronomy Tourism by Food Truck Case Study: Hua Hin District Prachuap Khiri Khan Province, Thailand |
Authors: | คู่ทวีกุล, โชคดี |
Keywords: | การส่งเสริมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงอาหาร รถอาหารเคลื่อนที่ Tourism promotion Gastronomy tourism Food Truck จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ Prachuap Khiri Khan Province |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1232&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์ กับพฤติกรรมการใช้บริการรถอาหารเคลื่อนที่ (Food Truck) ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์ กับระดับความต้องการปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยรถอาหารเคลื่อนที่ (Food Truck) ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร โดยรถอาหารเคลื่อนที่ (Food Truck) ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสม คือ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการรถอาหารเคลื่อนที่ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การหาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร (Chi-square test) การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA หรือค่า f-test) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพมีผู้ให้ข้อมูลหลักจากภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการรถอาหารเคลื่อนที่ ภาคชุมชน นักการตลาด และนักวิชาการด้านโภชนาการอาหาร จำนวน 28 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเแบบมีโครงสร้าง แล้วทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี อาชีพพนักงานเอกชนและลูกจ้าง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท การศึกษาในระดับปริญญาตรี มากที่สุด 2) พฤติกรรมการใช้บริการรถอาหารเคลื่อนที่ เพื่อทดลองร้านอาหารรูปแบบใหม่ ๆ และเพื่อแสดงความทันสมัยเมื่อเจอรถอาหารเคลื่อนที่โดยบังเอิญ ใช้บริการกับเพื่อนและเพื่อนร่วมงาน ประมาณ 2-3 ครั้งต่อเดือน ในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ที่ตลาดนัดมากที่สุด โดยปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการรถอาหารเคลื่อนที่ของนักท่องเที่ยวชาวไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวต้องการ ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร โดยรถอาหารเคลื่อนที่ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านราคา ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านบุคลากร ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด 4) การสัมภาษณ์ พบว่า รถอาหารเคลื่อนที่ควรมีสีสันสะดุดตา จำหน่ายอาหารทุกประเภท ในแหล่งท่องเที่ยว และตลาดนัดโดยต้องมีมาตรฐานความสะอาด ตามเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุข ควรประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และสิ่งที่ควรส่งเสริม คือ ภาครัฐและภาคเอกชน ควรจัดสรรสถานที่จอดรถในแหล่งท่องเที่ยว หรือสถานที่เฉพาะเพื่อส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ และควรจำหน่ายอาหารไทยหรืออาหารท้องถิ่นด้วย |
URI: | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/564 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
28.Chokdee Kuthaweekul.pdf | Chokdee Kuthaweekul | 3.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.