Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/552
Title: แนวทางการสื่อสารทางการตลาดด้านอาหารพื้นบ้านเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา
Other Titles: Marketing Communication Guideline to Promote Local Food for Tourism Phayao Province Thailand
Authors: ขวัญใจ, ดำรงค์ศักดิ์
Keywords: การสื่อสารทางการตลาด
อาหารพื้นบ้าน
Marketing communication
Local food
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1356&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยเรื่อง แนวทางการสื่อสารทางการตลาด ด้านอาหารพื้นบ้านเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา เป็นการวิจัยคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาด้านอาหารพื้นบ้านในจังหวัดพะเยา 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่ออาหารพื้นบ้านจังหวัดพะเยา 3) เพื่อเสนอแนวทางการสื่อสารทางการตลาดด้านอาหารพื้นบ้านเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาด้านอาหารพื้นบ้านในจังหวัดพะเยามีทั้งหมด 8 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ไทยวนอาหารที่นิยม คือ แกงแคไก่ใส่ข้าวคั่ว ไทลื้ออาหารที่นิยม คือ จิ้นซ่ำพริก ไทจีนอาหารที่นิยม คือ ผัดหมี่ ไทเมี่ยนอาหารที่นิยม คือ ต้มฟักไก่ ไทใหญ่อาหารที่นิยม คือ ข้าวส้ม ไทม้งอาหารที่นิยม คือ ต้มไก่ดำสมุนไพร ไทลาว (หลวงพระบาง) อาหารที่นิยม คือ แกงขนุน และไทอีสาน (ภูไท) อาหารที่นิยม คือ ซั่วไก่ ซึ่งภูมิปัญญาด้านอาหารส่วนใหญ่มีความเป็นเอกลักษณ์ และยังคงสะท้อนให้เห็นจากการดำรงชีวิตของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งนี้แนวทางการอนุรักษ์ของแต่ละพื้นที่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสืบทอดให้กับคนในครอบครัว และยังคงนำอาหารพื้นบ้านมารับประทานในชีวิตประจำวันจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนการนำอาหารพื้นบ้านมาใช้ในเทศกาลประเพณีสำคัญ และบริการให้แก่นักท่องเที่ยวของแต่ละชุมชนด้วย ในส่วนการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่ออาหารพื้นบ้าน พบว่า อาหารที่นักท่องเที่ยวอยากรับประทานเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ผัดหมี่ 2) ต้มฟักไก่ 3) แกงไก่ใส่ข้าวคั่ว 4) ซั่วไก่ 5) จิ้นซ่ำพริก 6) ต้มไก่ดำสมุนไพร 7) ข้าวส้ม 8) แกงขนุนใส่หมู หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูล คือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา ด้านเนื้อหานักท่องเที่ยวต้องการที่จะทราบมากที่สุด คือ รสชาติของอาหาร ส่วนช่องทางในการสื่อสารนักท่องเที่ยวต้องการให้สื่อสารผ่านทางเว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ และกลุ่มเป้าหมายในการรับสื่อ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย และกลุ่มสื่อมวลชน อีกทั้งกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร ที่พัก และร้านจำหน่ายของที่ระลึกในจังหวัดพะเยา ในส่วนของแนวทางการสื่อสารทางการตลาดด้านอาหารพื้นบ้านเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดพะเยา พบว่า ต้องใช้การส่งเสริมการตลาด (Promotion) ที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย โดยการโฆษณาผ่านช่องทางเว็บไซต์ รวมถึง Application Social Media ต่าง ๆ และการจัดป้ายสื่อความหมายเส้นทางท่องเที่ยวอาหารพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ ตามสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด และการจัดกิจกรรมของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น การออกบูธ การแสดงสาธิตทำอาหาร โดยให้ผู้เข้าชมได้เข้าร่วมในการทำกิจกรรมนั้น ๆ ตามเทศกาลต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงและเป็นที่รับรู้แก่นักท่องเที่ยว
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/552
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1Dumrongsak Kwanjai.pdfDumrongsak Kwanjai8.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.