Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/539
Title: การสำรวจความต้องการการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทข้ามชาติ
Authors: รัตนพิบูลวงษ์, มนพันธ์
Keywords: ภาษาอังกฤษ
บริษัท
ความต้องการ
English
Company
Needs analysis
การวิเคราะห์ความต้องการ
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1505&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจวัตถุประสงค์การใช้ภาษาอังกฤษในขณะปฏิบัติงาน และสำรวจปัญหาในการใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานระดับปฏิบัติการชาวไทย รวมถึงสำรวจความต้องการของพนักงานต่อรูปแบบของหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษ โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานระดับปฏิบัติการชาวไทย จำนวน 36 คน ซึ่งเป็นขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการกำหนดเกณฑ์ของ Krejcie and Morgan โดยใช้วิธีการสุ่มแบบการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษในขณะปฏิบัติงานของพนักงานปฏิบัติการชาวไทย คือ การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารกับผู้ร่วมงานชาวต่างชาติอยู่ในระดับจำเป็นมากที่สุด (ระดับค่าเฉลี่ย 4.52) รองลงมาคือ ลูกค้าชาวต่างชาติ (ระดับค่าเฉลี่ย 3.72) และหัวหน้างานชาวต่างชาติ (ระดับค่าเฉลี่ย 3.68) ตามลำดับโดยในส่วนของรูปแบบการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษที่พนักงานระดับปฏิบัติการชาวไทยใช้ในการทำงานที่มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด คือ การอ่านอีเมล (ระดับค่าเฉลี่ย 4.36) และการเขียนอีเมล (ระดับค่าเฉลี่ย 4.24) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างปฏิบัติงานและในส่วนของทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนนั้น พบว่าระดับทักษะ ด้านการฟังของพนักงานระดับปฏิบัติการชาวไทยนั้นมีปัญหาอยู่ในระดับมาก เช่น การไม่เข้าใจสำเนียงของคู่สนทนาที่ผู้พูดไม่ใช่เจ้าของภาษา (Non-native speakers) เป็นต้น และผลการวิเคราะห์ความต้องการของพนักงานในการจัดฝึกอบรมภาษาอังกฤษ พบว่า ทักษะที่พนักงานต้องการเน้นในการฝึกอบรมมากที่สุด คือ ทักษะการพูด และผู้ทำการสอนในการฝึกอบรมนั้นผู้สอนที่เป็นเจ้าของภาษา (Native speakers) เป็นที่ต้องการมากที่สุดซึ่งข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่จะตอบโจทย์การวิจัยในภาคบริษัทเอกชน โดยนำมาอ้างอิงเพื่อรับการประเมินและการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร เพื่อนำไปต่อยอดในการจัดหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษให้แก่พนักงานในแง่ของการพัฒนาบุคลากรต่อไป
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/539
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
มนพัทธ์ รัตนพิบูลวงษ์.pdfMonnapat Rattanapibulvong659.81 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.