Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/531
Title: | ประสิทธิภาพในการพัฒนาตำบลตามแนวทางการพัฒนาของเทศบาลตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา |
Other Titles: | Efficiency in Tambon Development According to the Development Guidelines of Mae Ka Subdistrict Municipality Mueang District Phayao Province |
Authors: | ฤทธิ์กระจาย, ธนกฤต |
Keywords: | นโยบายสาธารณะ การมีส่วนร่วม เทศบาลตำบลแม่กา Public policy Participation Mae Ka Subdistrict Municipality |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1382&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการพัฒนาตำบล ตามแนวทางการพัฒนาของเทศบาลตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และเพื่อเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพในการพัฒนาตำบล ตามแนวทางการพัฒนาของเทศบาลตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยประชากร (Population) ประกอบด้วยประชาชนในเขตเทศบาลตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความเชื่อถือได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการเมืองและการบริหาร ประชาชนเทศบาลตำบลแม่กา พบว่า ภาพรวมมีความพึงพอใจมาก เช่น การส่งเสริมการสนับสนุนการทำวิจัย และการพัฒนาด้านบุคลากร 2) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน พบว่า ภาพรวมมีความพึงพอใจมาก คือ การจัดทำแผน การดูแล ตรวจสอบสิ่งก่อสร้าง การก่อสร้างปรับปรุงถนน 3) ด้านเศรษฐกิจ พบว่า มีความพึงพอใจมากที่สุด ในเรื่องของการส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยว และการส่งเสริมการฝึกอบรมอาชีพเสริม 4) ด้านการศึกษา พบว่า มีความพีงพอใจอยู่ที่ระดับมาก ในเรื่องของการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส 5) ด้านสังคม พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมากที่สุด คือ การส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกองค์กรมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของท้องถิ่น 6) ด้านศาสนา วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมากที่สุด คือ การส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกันอนุรักษ์ และสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และจารีตประเพณีเก่าแก่ของท้องถิ่น 7) ด้านการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมากที่สุด คือ การจัดให้มีการกำกับดูแลในการจัดการขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลให้ถูกหลักสุขาภิบาล |
URI: | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/531 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
11Thanakrit RitKrajay.pdf | Thanakrit Ritkrajay | 4.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.