Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/526
Title: | พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา |
Other Titles: | The Behavior of People on the Solid Waste Management in Maeka Subdistrict Municipality Phayao |
Authors: | อินทนู, สุธิพงษ์ |
Keywords: | พฤติกรรม ขยะมูลฝอย Behavior Garbage การจัดการขยะมูลฝอย Solid waste management |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1399&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาผลการดำเนินของโครงการ การจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และเพื่อศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ ประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่กาที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป จากจำนวน 14,103 คน (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2562) โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอรแ์กน (Krejcie & Morgan) โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่น 95% คำนวณได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 374 คน โดยได้เก็บข้อมูล ทั้งสิ้น 390 คน โดยการสุ่มตัวอย่างโดยบังเอิญ (Accidental sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม แบบปลายปิด และปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา หลังการดำเนินโครงการ พะเยา สะอาด น่าอยู่ เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติระดับมาก ด้านการนำกลับมาใช้ใหม่ รองลงมา ได้แก่ ด้านการลดการเกิดขยะมูลฝอย และด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย ปัจจัยสู่ความสำเร็จของกระบวนการจัดการขยะมูลฝอย หลังการดำเนินโครงการ พะเยา สะอาด น่าอยู่ เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะมูลฝอย จังหวัดพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการมีส่วนร่วม รองลงมา ด้านการจัดองค์กรและการบริหารงานที่ดี ด้านภาวะความเป็นผู้นำ ด้านการสื่อสาร และด้านการสนับสนุน จากภาคีเครือข่าย ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ ควรมีการอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ประชาชน เพื่อนำขยะกลับมาใช้ใหม่และลดการเกิดขยะเพิ่มขึ้นในพื้นที่ และส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการวางแผนการดำเนินโครงการ เนื่องด้วยสภาพปัญหาของการเกิดปัญหาขยะนั้น ต่างพื้นที่ต่างชุมชนย่อมมีการเกิดปัญหา และปัจจัยที่ต่างกัน |
URI: | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/526 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
16Suthipong Intanoo.pdf | Suthipong Intanoo | 936.23 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.