Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/489
Title: | แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครปฐม |
Other Titles: | Strategic Plan for Sustainable Buddhist Tourism Development in Nakhon Pathom Province |
Authors: | น้อมนำทรัพย์, วงศ์ระวิทย์ |
Keywords: | แผนยุทธศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา จังหวัดนครปฐม Strategic plan Buddhist tourism Nakhon Pathom Province |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1209&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครปฐม โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการสัมภาษณ์และแบบสอบถามกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และนักท่องเที่ยวชาวไทย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพื้นฐาน ได้แก่ การหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาอย่างยั่งยืนจังหวัดนครปฐม พบว่า ศักยภาพของทรัพยากรท่องเที่ยวในวัดมีความเก่าแก่ มีประวัติความเป็นมา และมีบทบาทในประวัติศาสตร์ เนื่องจากวัดในจังหวัดนครปฐมสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี เช่น วัดพระประโทนเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ เป็นต้น และมีการสร้างขึ้นตามสมัยต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งวัดมีโอกาสได้รับการสนับสนุนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในระดับโลก และยังกระจายรายได้และทำให้วัด ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว ทั้งนี้วัดสามารถจัดกิจกรรม และพิธีกรรมทางพุทธศาสนาที่ทำให้เกิดการพัฒนาจิตใจ และการปลูกจิตสำนึกเชิงอนุรักษ์ต่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาที่ยั่งยืน แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครปฐม มีวิสัยทัศน์คือ จังหวัดนครปฐมจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของโลก เพื่อปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรม และพัฒนาจิตใจ เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาให้มีมาตรฐาน และคุณภาพระดับโลกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และเป็นต้นแบบการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาเพื่อปลูกจิตสำนึก ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรม 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา เพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและกระจายรายได้สู่ชุมชน และ 4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน |
URI: | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/489 |
Appears in Collections: | ปริญญาเอก(Doctoral Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5.Wongrawit Nomnumsab.pdf | Wongrawit Nomnumsab | 15.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.