Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/439
Title: | แนวทางการส่งเสริมเส้นทางทัวร์ไหว้พระฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Guideline for Promoting of Buddhist Pilgrimage Route on the Western Bank of Chaophaya River in Bangkok |
Authors: | จิตต์โกศล, ทรงพล |
Keywords: | การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวไหว้พระ แนวทางการส่งเสริม Cultural tourism Pilgrimage tourism Guideline for promoting การท่องเที่ยวเชิงศาสนา แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร Bangkok Guideline for tourism promotion The Religious tourism |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1232&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การท่องเที่ยวไหว้พระ เป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพราะเป็นการนำเอาวัฒนธรรมมาเป็นจุดขาย เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งสามารถนำรายได้ไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป วัดจึงเป็นศูนย์กลางของชุมชนในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีต อิทธิพลของพุทธศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนด วิถีชีวิตของชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งที่รวบรวมงานศิลปวิทยาการ และความรู้มากมายหลายสาขา ตลอดจนเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมที่มีค่า การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่ท่องเที่ยวทัวร์ไหว้พระฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่ท่องเที่ยวทัวร์ไหว้พระฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมเส้นทางทัวร์ไหว้พระ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นวิธีวิจัยเชิงผสม ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ ในการทดสอบสมมติงานวิจัยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test และ f-test การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 5 ภาคส่วน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.50 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 35.50 สถานภาพโสด ร้อยละ 30.75 การศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี ร้อยละ 67.00 ประกอบอาชีพเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 37.50 และมีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 25,001-30,000 บาท 2) พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยว เพื่อเสริมสิริมงคลให้กับตนเองมากที่สุด ส่วนใหญ่เดินทางมากับครอบครัว มีจำนวนสมาชิกในการเดินทาง 5 คนขึ้นไป เดินทางในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และมีค่าใช้จ่ายระหว่าง 1,001-1,500 บาท 3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดโดยเรียงลำดับจากมากที่สุด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดการจำหน่าย ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านบุคลากร ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านราคา ตามลำดับ และ 4) จากการสัมภาษณ์ พบว่า แหล่งท่องเที่ยวมีสิ่งดึงดูดใจด้านความมีคุณค่า ความงดงามด้านศิลปวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม แต่สิ่งที่ควรส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว คือ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ควรเพิ่มช่องทางโฆษณาประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวให้หลากหลายช่องทาง ส่งเสริมการตลาดด้วยการสนับสนุนในการจัดกิจกรรม มีความหลากหลาย โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ด้านการรองรับนักท่องเที่ยว ควรจัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพี้นฐาน และด้านจัดการท่องเที่ยวควรให้การสนับสนุนในการสร้างจิตสำนึกในฐานะเจ้าของพื้นที่ให้กับชุมชน |
URI: | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/439 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
29.Songphon Jitgosol.pdf | Songphon Jitgosol | 6.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.