Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/264
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปัทมฤทธิกุล, ธนาวัฒน์-
dc.date.accessioned2020-05-22T06:35:37Z-
dc.date.available2020-05-22T06:35:37Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1224&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://10.209.10.67:8080/handle/123456789/264-
dc.description.abstractงานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเมืองท่องเที่ยวชายแดน เพื่อเชื่อมโยงอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง: มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-กวางตรี 2) เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์นโยบายภาครัฐ กฎหมาย ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเมืองชายแดนพื้นที่วิจัย 3) เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ที่มีอิทธิพลต่อแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเมืองชายแดนพื้นที่วิจัย 4) เพื่อวิเคราะห์ทัศนคติ ความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวต่อนโยบายและทิศทางการบริหารงานของภาครัฐ 5) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเมืองชายแดน เพื่อเชื่อมโยงอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง: มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-กวางตรี งานวิจัยเรื่องนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วย 2 วิธีการ คือ การศึกษาจากเอกสาร ได้แก่ ข้อกฎหมาย นโยบายภาครัฐ เอกสาร ตำรา รวมถึงงานวิจัย และการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 48 คน ได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวและภาคชุมชน ในจังหวัดมุกดาหาร ประเทศไทย ในแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว และจังหวัดกวางตรี ประเทศสาธารณะรัฐสังคมนิยมเวียดนาม จำนวนประเทศละ 16 คน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ SWOT/TOWS matrix เพื่อให้ได้แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเมืองชายแดน เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง: มุกดาหาร สะหวันนะเขต กวางตรี ผลการวิเคราะห์ได้แนวทางทั้งสิ้น 15 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านแหล่งท่องเที่ยว 2) ด้านการเข้าถึง 3) ด้านที่พัก 4) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 5) ด้านกิจกรรม 6) บริการต่าง ๆ 7) ด้านการจัดการ 8) ด้านผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว 9) ด้านราคาการท่องเที่ยว 10) ด้านการจัดจำหน่าย 11) ด้านการส่งเสริมการตลาด 12) ด้านกระบวนการ 13) สภาพแวดล้อมทางกายภาพ 14) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน 15) ด้านบุคลากรหรือผู้ปฏิบัติงาน สุดท้ายนำผลการวิจัยทั้งหมดมานำเสนอเป็นแนวทางการท่องเที่ยวเมืองชายแดน เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขงที่ชื่อไตรนครา โมเดล (TRI NAGARA model)en_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectการพัฒนาen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectเมืองชายแดนen_US
dc.subjectDevelopmenten_US
dc.subjectTourismen_US
dc.subjectBorder citiesen_US
dc.titleแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเมืองชายแดนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง: มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-กวางตรีen_US
dc.title.alternativeThe Potential Development Guideline of Border Tourism Cities to Create the Linkage of Greater Mekong Subregion: Mukdahan–Savannakhet-Quang Trien_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20.Thanawat Patthamaritthikul.pdfThanawat Patthamaritthikul5.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.