Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/262
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพรมสิทธิ์, เศรษฐวัสภุ์-
dc.date.accessioned2020-05-21T07:42:54Z-
dc.date.available2020-05-21T07:42:54Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1216&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://10.209.10.67:8080/handle/123456789/262-
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างยุทธศาสตร์การจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร โดยเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ โดยได้ผสานการวิจัยเอกสาร การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณมาใช้ร่วมกัน เพื่อให้ครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ อย่างครบถ้วน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางด้านโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร จำแนกได้ 4 กลุ่ม จำนวน 34 คน และนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 220 คน นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษที่ค่าความเชื่อมั่นรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.972 การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งแบบวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูลค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test One way ANOVA และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า วิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์การจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในกรุงเทพมาหนคร คือ มุ่งสู่การจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวที่บูรณาการอย่างเป็นระบบทั้งการเคลื่อนที่ทางกายภาพ การเงิน และข้อมูลข่าวสาร พร้อมเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้กำหนด 5 เป้าประสงค์ คือ 1) เพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการเดินทางท่องเที่ยว เชื่อมโยงโครงข่ายระบบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ 2) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ 3) เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านการให้บริการโลจิสติกส์ การท่องเที่ยวให้สามารถบริการนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) เพื่อส่งเสริมโลจิสติกส์การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 5) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินแก่นักท่องเที่ยว ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ 29 กลยุทธ์ 134 โครงการ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการเดินทางท่องเที่ยว ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างและพัฒนาโครงข่ายระบบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวและชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมโลจิสติกส์การท่องเที่ยวที่ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างความเชื่อมั่น และความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ 5 เสริมสร้างศักยภาพในการให้บริการ ของบุคลากรทางด้านโลจิสติกส์การท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยกระดับประสิทธิภาพระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวหลัก และแหล่งท่องเที่ยวรองen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectยุทธศาสตร์en_US
dc.subjectการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวen_US
dc.subjectกรุงเทพมหานครen_US
dc.subjectStrategyen_US
dc.subjectTourism logistics managementen_US
dc.subjectBangkoken_US
dc.titleยุทธศาสตร์การจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeStrategy of Tourism Logistics Management in Bangkok Metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
12.Sedtawat Prommasit.pdfSedtawat Prommasit6.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.