Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2484
Title: การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Other Titles: Studying the Effective of Cooperative Learning Technique STAD and PBL on Inequalities for Mathayomsuksa Two
Authors: อบเชย, ณัฐวุฒิ
อะกะเรือน, เยาวดี
Keywords: ผลสัมฤทธิ์ (STAD)
อสมการ
กระบวนการทางคณิตศาสตร์
Cooperative Learning Technique STAD
Inequalities
Mathematical skills and processes
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract: การวิจัยเรื่อง การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นลักษณะการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง และมีจุดประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ที่ได้รับการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง อสมการ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กับเกณฑ์ 70% 2) เพื่อศึกษาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ที่ได้รับการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง อสมการ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ที่ได้รับการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง อสมการ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 26 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (cluster random sampling) ใช้เวลาในการทดลอง 10 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เรื่อง อสมการ 3) แบบบันทึกและเกณฑ์การวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 4) แบบบันทึกและเกณฑ์การวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบ T-test ผลการวิจัย 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง อสมการ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ 70% ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง อสมการ โดยภาพรวมของคะแนนทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่า ด้านการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ด้านการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ และด้านการเชื่อมโยง อยู่ในระดับดี 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง อสมการ โดยภาพรวมของคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอยู่ในระดับดี ซึ่งมีด้านการมุ่งมั่นในการทำงานอยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านความมีวินัย ด้านการใฝ่เรียนรู้ และด้านมีจิตสาธารณะอยู่ในระดับดี
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2484
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.