Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2480
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | โชคดี, เกรียงศักดิ์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-12-01T04:33:47Z | - |
dc.date.available | 2023-12-01T04:33:47Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.citation | http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=2051 | en_US |
dc.identifier.uri | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2480 | - |
dc.description.abstract | ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษา ตามหลักไตรสิกขาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียน การสอนสังคมศึกษา ตามหลักไตรสิกขากับนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษา ตามหลักไตรสิกขา กับนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนเมืองปานวิทยา อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จับสลากกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม จำนวน 1 ห้อง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster samping) ซึ่งผลการจับสลากปรากฏว่ากลุ่มทดลอง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 30 คน โดยได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนกลุ่มควบคุม คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 30 คน โดยได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ รวมจำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความคิดเห็น 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษา แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษา ตามหลักไตรสิกขามีความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษา ตามหลักไตรสิกขาโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Web-Based Instruction: WBI อยู่ในระดับมาก | en_US |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.subject | การเรียนรู้สังคมศึกษา | en_US |
dc.subject | หลักไตรสิกขา | en_US |
dc.subject | การคิดอย่างมีวิจารณญาณ | en_US |
dc.subject | Social studies learning | en_US |
dc.subject | Trisikkha principles | en_US |
dc.subject | Achievement and critical thinking ablility | en_US |
dc.title | ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 | en_US |
dc.title.alternative | The Effect of Social Studies Learning Activities According to The Trisikkha Principles on Learning Achievement and Critical Thinking Ability of Mathayom Suksa Students | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kriangsak Chokdee.pdf | Kriangsak Chokdee | 2.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.