Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2408
Title: การศึกษาความหลากหลายของสัตว์หน้าดินที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ในลำธารห้วยแม่กาหลวง
Other Titles: The Study on Benthic Macroinvertebrate Diversity in Huang Luang Stream
Authors: จินะวงค์, กฤษณา
อุตสม, กัญญารัตน์
Keywords: สัตว์หน้าดิน
ดัชนีชีวภาพ
Benthic Macroinvertebrate
Biotic index
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำและสัตว์หน้าดินในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงกรกฎาคม พ.ศ 2561 โดยวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในถิ่นที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน ปัจจัยด้านกายภาพ เคมี ชีวภาพของลำธารโดยใช้สัตว์หน้าดินเป็นตัวตรวจวัดความหลากหลายทางชีวภาพ โดยใช้ดัชนีชีวภาพ ได้แก่ ดัชนีความคล้ายคลึง, ดัชนีความหลากหลายของแชนนอน-วีเนอร์ และดัชนีความสม่ำเสมอ ผลการศึกษากายภาพและเคมี พบว่า ห้วยแม่กาหลวงมีค่าอุณหภูมิน้ำเฉลี่ยอยู่ในช่วง 27.50-29.00 ℃ คำความเร็วกระแสน้ำเฉลี่ยอยู่ในช่วง 012-0.33 m/s ความกว้างของลำธารมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.70-3.50 m ความลึกของลำธารมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.15-0.45 m ปริมาณกระแสน้ำเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.009-0.0045 m/s ค่า pH เฉลี่ยอยู่ในช่วง 6.95-8.05 ค่าการนำไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 185-253 μS/cm ค่า DO เฉลี่ยอยู่ในช่วง 3.50-5.50 mg/l ค่ BOD เฉลี่ยอยู่ในช่วง 3.00-4.10 mg/l ผลการศึกษาปัจจัยทางชีวภาพ พบสัตว์หน้าดินทั้งหมด 21 วงศ์ พบสัตว์หน้าดินในอันดับ Ephemeroptera มากที่สุด จำนวน 128 ตัว ได้แก่ วงศ์ Baetidae, Ephemerellidae. Ephemneridae, Heptageniida , Leptophlebidae, Caenidae, Potamanthidae และอันดับที่พบน้อยที่สุด คือ Coleoptera พบทั้งหมด 1 วงศ์ ได้แก่ Psephenidae จากการเปรียบเทียบจุดศึกษาของสัตว์หน้าดินทั้ง 3 จุดศึกษา พบว่าจุดเก็บตัวอย่างที่ 1 และ 2 มีคำความคล้ายคลึงกันมากที่สุด 78.00 ดัชนีความหลากหลายของแชนนอน-วีเนอร์ มีค่ามากที่สุดอยู่ที่จุดที่ 1 มีค่า 2.46 และดัชนีความสม่ำเสมอ มีค่ามากที่สุดอยู่ที่จุดที่ 2 มีค่า 0.92
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2408
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.