Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2391
Title: ผลของความเข้มข้นของโซเดียมไบคาร์บอเนตและแมกนีเซียมซัลเฟตต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย Spirulina Platensis
Other Titles: Effect of Concentration of Sodium Bicarbonate and Magnesium Sulfate on the Growth of Spirulina Platensis
Authors: ปิ่นทอง, ดวงกมล
หอมนาน, พิทักษ์พงษ์
คำใส, มัญชุพร
Keywords: สูตรอาหารเพาะเลี้ยง
Spirulina platensis
ความเข้มข้นของโซเดียม
ไบคาร์บอเนต
ความเข้มข้นของแมกนีเซียมซัลเฟต
Media
Concentration of sodium bicarbonate
Concentration of magnesium sulfate
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นของโซเดียมไบคาร์บอเนต และแมกนีเซียมซัลเฟตต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย Spirulina platensis ในสูตรอาหารเพาะเลี้ยง 5 สูตรอาหารเพาะเลี้ยง ได้แก่ C, C1, M, M1 และ Z ปริมาตร 250 มิลลิลิตร ทำการเก็บผลโดยการนับจำนวนเส้นสาย วัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 560 นาโนเมตร ทุก ๆ 3 วัน เป็นระยะเวลา 30 วัน และชั่งน้ำหนักแห้งชีวมวลในวันที่ 30 ของการทดลอง พบว่า ความเข้มข้นของโซเดียมไบคาร์บอเนตที่เหมาะสมที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของสูตรอาหารเพาะเลี้ยง C และ C1 (สูตรอาหารเพาะเลี้ยง CB และ C1B) ได้แก่ 0, 3 และ 6 กรัมต่อลิตร สูตรอาหารเพาะเลี้ยง M และ M1 (สูตรอาหารเพาะเลี้ยง MB และ M1B) คือ 6 กรัมต่อลิตร และสูตรอาหารเพาะเลี้ยง Z (สูตรอาหารเพาะเลี้ยง ZB) คือ 0 กรัมต่อลิตร (p≤0.05) จากนั้นนำ MB, M1B และ ZB มาเปรียบเทียบความเข้มข้นของแมกนีเซียมซัลเฟต พบว่า ความเข้มข้นของแมกนีเซียมซัลเฟตที่เหมาะสมที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของสูตรอาหารเพาะเลี้ยง MB และ M1B (สูตรอาหารเพาะเลี้ยง MB+ และ M1B+) คือ 0.5 กรัมต่อลิตร และสูตรอาหารเพาะเลี้ยง ZB (สูตรอาหารเพาะเลี้ยง ZB+) คือ 0.2 กรัมต่อลิตร (p≤0.05) นอกจากนี้ยังไม่พบการปนเปื้อนของสาหร่ายชนิดอื่นในทุกสูตรอาหารเพาะเลี้ยง
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2391
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.